ศึกษาคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Chintana Boonpeng

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องศึกษาคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับอาชีวศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ

อาชีวศึกษา สังกัดงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา

ระดับเปรียบเทียบ และศึกษาปัจจัยคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรมตามความคิดเห็นของ

ผู้เกี่ยวข้อง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 415 คน ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 88 คน และครู 327 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม

สำเร็จรูปการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน

มาตรฐาน และค่า t-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ระดับคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับอาชีวศึกษา สังกัด

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องมีระดับ

ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ไดแก่1) ด้านวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาใหทั้นกับการเปลี่ยนแปลง

2) ด้านความเปน็ ผูน้ำในการริเริ่มการใชน้ วัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน 3) ด้านการสง่ เสริมการนำเทคโนโลยี

สารสนเทศ สถานศึกษา และการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ 4) ด้านศักยภาพในการพึ่งตนเอง

ในการพัฒนางานวิชาการ 5) ด้านการแสวงหาความรู้ใหม่มาปรับใช้ตลอดเวลา                                                                                                 2.ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับอาชีวศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้เมื่อทดสอบพบว่า
ผู้บริหารมีความเห็นเฉลี่ยสูงกว่าครู

References

กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). รายงานผลการวิจัย คุณลักษณะ
และพฤติกรรมการบริหาร. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

ธีระ รุณเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ภัทรวดี อุ่นวงษ์. (2553). คุณลักษณะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับประถม
ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เมธี ปิลันธนานนท์. (2525). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

วัลลภ สุวรรณดี และคณะ. (2541). การศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2534). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-
2534). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2537). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-
2539). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน. (2549). มาตรฐานตัวบ่งชี้และ
เกณฑ์การพิจารณา เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2
(พ.ศ.2549-2553). กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทองจำกัด.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2549). บทความวิชาการเรื่องคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการ. http://suthep.cru.in.th.
Robbins SP. (1997). Managing Today. New Jersey: Prentice-Hall. (สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน
2554).

Sergiovanni M. (1961). Educational Governance and Administration. Englewood Cliffs.
New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2018

How to Cite