ทัศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การดำเนินงาน, การพัฒนาอาชีวศึกษา, นโยบาย, ยุทธศาสตร์, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทัศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามสภาพพื้นฐานทั่วไปของ
ผู้ปกครอง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามหลักการ
ของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 171 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.946 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการ
เปรียบเทียบรายคู่ ด้วยวิธี Scheffe’s ผลการวิจัยพบว่า
1. ทัศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง
จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 และเมื่อพิจารณา
เป็นรายด้าน พบว่าด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากรและ
การบริหารจัดการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน ตามลำดับ
2. ผลการทดสอบสมมติฐานทัศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบล
แม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า 1) ผู้ปกครองที่มีเพศต่างกัน มีทัศนะต่อการจัดการศึกษา
ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ก๊า ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 2) ผู้ปกครองที่มีอายุต่างกัน
มีทัศนะต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ก๊า ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
3) ผู้ปกครองที่มีอาชีพต่างกัน มีทัศนะต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ก๊า ในภาพรวม
และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 4) ผู้ปกครองที่มีรายได้ต่างกัน มีทัศนะต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ก๊า ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 5) ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีทัศนะ
ต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ก๊า ในภาพรวมไม่แตกต่าง เมื่อพิจารณาในรายด้านวิชาการ
และกิจกรรมตามหลักสูตร พบว่า ผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี กับผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับ
อนุปริญญา มีทัศนะต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.1 โดยมีผลต่างเท่ากับ 0.876 6) ผู้ปกครองที่มีความสัมพันธ์กับเด็กต่างกัน มีทัศนะต่อการจัดการศึกษา
ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ก๊า ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
References
เสริมสร้างเด็ก. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสคนพิการ
และผู้สูงอายุ.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ปีพุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
พยอม วงศ์สารศรี และคณะ. (2549). วิทยาการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2550). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย 0-5 ปี
ระยะยาว พ.ศ.2550-2559. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี คอมมิวนิเคชั่น
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
______. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา: ระเบียบวาระแห่งชาติ (2551-2555).
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, กรม. (2547). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กร
ปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น.
______. (2547). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักประสานและ
พัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น.
______. (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:
สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น.
ธรรมนิตย์ สิริมงคลพุทธะ. (2554). ทัศนะของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอขุนขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
บุญล้อม ศรีรักษา. (2551). ทัศนะผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนโคกสว่าง
อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เมธี ชัยเจริญ. (2553). ทัศนะของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การ
บริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ราตรี บุราณสาร. (2552). ทัศนะผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนซับสนุ่น สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่ การศึกษาสระบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ราตรี นาสาทร. (2552). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนา
เด็กเล็ก ตำบลบ้านเล่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ลิตา อุ๋ยธีรทัต. (2552). ทัศนคติของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนา
เด็กเล็ก สังกัดเทศบาลรัษฎา จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมบัติ เขียวนิล. (2552). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
อรจิรา เนตรอารีย์. (2543). เจตคติต่อการเข้ารับการฝึกอบรมของพนักงานธนาคารออมสิน. วิทยานิพนธ์
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรเนตร ภักดีศรี. (2553). ทัศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
อรอุมา สินสู่. (2552). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
องค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนดุสิต.
อุดมลักษณ ์ คำลือ. (2553). ทัศนะผูป้ กครองตอ่ การจัดการศึกษาของบุคลากรองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิ่น
ในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.