ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการ
ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ทำนายสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้
คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
แบบเพียร์สัน และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 10 ปัจจัย โดย
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีต่อครู
ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับ ค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 ผลจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนต่อครู ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
สามารถเขียนอยู่ในรูปสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้
สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน = 0.90 (ค่าคงที่) + 0.41 (คุณสมบัติผู้วิจัยในชั้นเรียน) + 0.23 (บุคลากร
ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียน) มีค่าอำนาจการทำนายได้ร้อยละ 25
References
พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรมวิชาการ. (2545). ครูกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกษร กุณาใหม่. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาวิจัยและสถิติการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นภาพร สิงหทัต. (2548). การพัฒนาชุดการสอนรายบุคคลเพื่อเสริมสมรรถภาพการวิจัยสำหรับครูและ
บุคลากรทางการศึกษาประจำการ. กรุงเทพฯ: ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
บัญชา อึ๋งสกุล. (2546). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ประภัสสร วงษ์ดี. (2549). กระบวนการและการใช้ผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูนักวิจัยในโรงเรียน
ประถมศึกษา: การศึกษาเชิงสำรวจและรายกรณี. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สายศิลป์ สายืน. (2549). ปัจจัยที่เอื้อต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด
กรมสามัญศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. ขอนแก่น: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรศักดิ์ การุณ. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิมล ว่องวานิช. (2547). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). “Determing Sample Size for Research
Activities”. Educational and Psychological Measurement. 1970(30): 607-610.