การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ในวิทยาลัยเทคนิคกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัด
อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2) ศึกษาปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบ
ทวิภาคี 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 4) ประเมินกลยุทธ์การบริหารการจัด
อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม
การประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได ผลการศึกษา
พบว่า
1. สภาพการบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีมีการดำเนินงานในด้านการวางแผนอยู่ใน
ระดับมาก ส่วนปัญหาการบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบว่า มีปัญหาการส่งเสริมความรู้การจัด
อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแก่บุคคล ครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบการ การวิเคราะห์การถดถอย
พหุคูณ พบว่า ด้านผู้บริหาร ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านครูผู้สอน ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการเมือง
เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01
2. ปัญหาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่พบมาก ได้แก่ สถานประกอบการส่วนใหญ่
เห็นว่าไม่มีการวางระบบและวิธีการในการนิเทศการศึกษาร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ
ส่วนความต้องการทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการวัดผลและประเมินผล ควรมีเกณฑ์การวัดผล
ที่แน่นอนและประเมินอย่างต่อเนื่อง
3. กลยุทธ์การบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ในวิทยาลัยเทคนิคกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง
ประกอบด้วย 10 กลยุทธ์ 36 มาตรการ และ 69 ตัวชี้วัด 4. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบว่า กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความ
สอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในระดับมากและมากที่สุด
References
ทวิภาคี. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
จารุณี ไกรแก้ว. (ม.ป.ป.). การจัดทำแผนกลยุทธ์. [Online]. Available: http://www.oaep.go.th/
images/news/20120214113850.pdf [2555, สิงหาคม 17].
ธงชัย สันติวงษ์. (2546). การบริหารสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.
ปราโมทย์ ดำทิพย์. (2548). การบริหารโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยเทคนิคกลุ่มภาคใต้
สังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ปริญญา วงศ์สุขสิน. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน
เครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในจังหวัดนครราชสีมา.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ผ่องพรรณ ตรีเนตร. (2550). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของโรงเรียนเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
ภาคเหนือกับสถานประกอบการเอกชนในจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มาโนช อิ่มสุขศรี. (2551). การพัฒนากลยุทธก์ ารบริหารจัดการบริการรักษาความปลอดภัยหา้ งหุน้ สว่ นจำกัด
ไอ เอส เอส กำแพงเพชรพิทักษ์ทรัพย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์
การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
รัชนีวรรณ บุญอนนท. (2555). การพัฒนายุทธศาสตรก์ ารบริหารการทอ่ งเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กำแพงเพชร.
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคนอื่นๆ. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์: Strategic Management. (พิมพ์
ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: ถังทรัพย์การพิมพ์.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2551). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ระดับ
อาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
วสันต์ ทำกล้า. (2549). การบริหารการศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม วิทยาลัย
เทคนิคลำพูน สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
วีระศักดิ์ โชติกานต์กุล. (2546). สภาพและปัญหาในการดำเนินการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของ
สถานศึกษาสังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 9. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสกลนคร.
สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและ
การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์. (2550). บทสรุปการวางแผนกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ซี แอนด์ เอ็น.
อนันท์ งามสะอาด. (2553). กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา. [Online].
Available: http://www.nsdv.go.th/industrial/arak/dual. [2554, เมษายน 20].
อารักษ์ ทองปาน. (ม.ป.ป.). หลักการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. [Online]. Available: http://
www.nsdv.go.th/industrial/arak/dual. [2554, เมษายน 18].