การพัฒนากลยุทธ์การบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2
คำสำคัญ:
การเปรียบเทียบ, พฤติกรรม, การใช้งานอินเทอร์เน็ต, ระดับการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพ ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารแผนพัฒนา
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพงเพชร
เขต 1 และเขต 2 เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และ เขต 2 และเพื่อประเมินกลยุทธ์
การบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบ
การจัดทำแผน และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2
จำนวน 748 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัย
ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนา
อิงผู้เชี่ยวชาญ
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 ด้านการวางแผน สถานศึกษา
มีการให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยการประชุม
เชิงปฏิบัติการ และการแจกเอกสารให้ศึกษา ด้านการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติ สถานศึกษามีการชี้แจง
ทำความเข้าใจให้แก่บุคลากรที่รับผิดชอบปฏิบัติตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการแบ่งงานและ
มอบหมายตามกิจกรรม/โครงการที่รับผิดชอบแก่บุคลากรให้ปฏิบัติตามแผน ด้านการติดตาม ประเมินผล
และทบทวนแผนพัฒนา สถานศึกษามีการนำผลการประเมินแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปใช้จัดทำแผน
พัฒนาคุณภาพการศึกษาในครั้งต่อไปปัญหาการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 ด้านที่มีปัญหามากกว่าด้านอื่นได้แก่ ด้านการติดตาม
ประเมินผลและการทบทวนแผนพัฒนาคือ ขาดการติดตามและประเมินแผนคุณภาพการศึกษา ในระยะครึ่งแผน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากคือ
ด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน และด้านนโยบายของรัฐบาลและหน่วยเหนือ ส่วนด้านอื่นๆ เช่น ด้านกรรมการ
สถานศึกษา ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่น คือด้านเศรษฐกิจ
การพัฒนากลยุทธก์ ารบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 ได้กลยุทธ์จำนวน 10 กลยุทธ์ คือ 1) เสริมสร้าง
ความรู้ ทักษะและความคิดใหม่ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารให้ทันสมัยและเอื้อต่อการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3) พัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้มีคุณภาพ 4) ปรับปรุงการจัดทำแผนปฏิบัติการ
ประจำปีและการนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปสู่การปฏิบัติให้มีคุณภาพ 5) เร่งสร้างแรงจูงใจให้กับ
บุคลากรในการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 6) เพิ่มขีดความสามารถของทีมงานและ
บุคลากรทุกฝ่ายในการขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ 7) ยกระดับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการ
แสวงหาทรัพยากร 8) เสริมสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดีในการติดตาม ประเมินผลและการทบทวนแผน
พัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย 9) พัฒนากระบวนการ ติดตาม ประเมินผลและ
การทบทวน แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 10) เร่งรัดการนำผลการติดตาม ประเมินผลและการทบทวนแผน
พัฒนาคุณภาพการศึกษาไปใช้
การประเมินกลยุทธ์การบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 ทุกกลยุทธ์ มีความสอดคล้อง
ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากและมากที่สุด
References
ศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2, สำนักงาน. (2554). รายงานสรุปภาพรวมการ
รายงานประจำปีของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2554. กำแพงเพชร: สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2.
จรัส อติวิทยาภรณ์. (2555). หลักการและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ
สงขลา.
จิตราภรณ์ ใยศิลป์. (2549). การพัฒนารูปแบบการวางแผนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. (2545). การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
พรพิมล ชินภักดี. (2546). การศึกษาปัญหาการจัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา
อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. การศึกษาอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. (บริหารการศึกษา).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เมตตา ชูเลิศ. (2548). สภาพการนำแผนกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ราชภัฏกาญจนบุรี.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.
รังสรรค์ มณีเล็ก. (2549). การวางแผนกลยุทธ์และการจัดทำงบประมาณในสถานศึกษา. นนทบุรี:
เกรท เอ็ดคูเคชั่น จำกัด.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. (2548). การวางแผนกลยุทธ์: ศิลปะการกำหนดแผนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ.
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.
สุพจน์ ทรายแก้ว. (ม.ป.ป.). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย-
อลงกรณ์.
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management). สงขลา: นำศิลป์
โฆษณา.
เอกวุฒิ แตงดารา. (2548). การพัฒนากลยุทธ์การวางแผนของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัด
กำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Certo, S.C. & Paul, P.J. (1991). Strategic management: Concept and Application. New York:
McGraw-Hill
Schermerhorn, J.R. (1999). Management. (5th ed). USA: John Wiley & Sons, Inc.
______. (2005). Management. (5th ed). USA: John Wiley & Sons, Inc.