กลยุทธ์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตาก เขต 1 และเขต 2

ผู้แต่ง

  • Sawek BunPrasop
  • Suntharee Doungthip
  • ChaloemChai ManuSawet

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตาก เขต 1 และเขต 2 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) ประเมิน
กลยุทธ์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และ
ความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 348 คน คือ
ผู้บริหารสถานศึกษา 24 คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน 324 คน และการสนทนากลุ่มกับผู้บริหารสถาน
ศึกษาและกรรมการสถานศึกษา จำนวน 14 คน 2) การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ประธานกรรมการสถานศึกษา
ในสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะหส์ ภาพแวดลอ้ มภายในและภายนอก (SWOT Analysis)
แล้วจัดทำร่างกลยุทธ์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการตรวจสอบ
ความถูกต้องของกลยุทธ์ 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการ
ศึกษา โดยประเมินด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยผู้เชี่ยวชาญทางกลยุทธ์ จำนวน 17 คน ให้การตรวจสอบกลยุทธ์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา
ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการ
ให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอปัญหาที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ และการร่วมกิจกรรมการ
พัฒนาคุณภาพ ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการในการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
และเขต 2 โดยสรุปได้กลยุทธ์การพัฒนาการส่วนร่วมของชุมชน 8 กลยุทธ์ มาตรการในการดำเนินการตาม
กลยุทธ์จำนวน 23 มาตรการ และตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสำเร็จจำนวน 58 ตัวชี้วัด 3) ผลการประเมิน
กลยุทธ์ ปรากฏว่ากลยุทธ์ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ.
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ, (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
และกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ. ไทยวัฒนาพานิช.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2543). สรุปรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 การรณรงค์แบบมีส่วนร่วมเป็น
ระบบแบบเชิงยุทธศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, สำนักงาน (องค์การมหาชน), 2552 รายงานผลสัมฤทธิ์
ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.2544. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2553). ขอบข่ายแนวคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ร่วมสมัย. ปทุมธานี:
สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.

สุจิตรา ศรีถวิล. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. สำนักพิมพ์สูตรไพศาล. กรุงเทพฯ.

สำนักทดสอบทางการศึกษา, สำนัก. (2544). แนวคิดเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้การศึกษา
ขั้นพื้นฐานด้านผลผลิต ปัจจัยและกระบวนการ. กรุงเทพฯ. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2551). หลักสำคัญในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. (Participatory Governance
Principle) กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based
Management). กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บบอร์ดการบริหารสมัยใหม่. (2006). การบริหารสมัยใหม่. http://www.se-ed.com/webboard/queston.
asp?g1D=2898&brd=rngr&group=brdmgr.

Hirsch, P. (1990) Development dilemmas in rural Thailand. Singapore: Oxford University
Press, Oxford New York.

Lawer, EE. (1986). High Involvement Management. Sanfrancisco: Jossey Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2018

How to Cite