ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • Sriamporn Rebankph

คำสำคัญ:

เพศ, กลวิธีด้านการเรียนรู้, กลวิธีด้านอภิปัญญา, แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ
นักศึกษาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 1 เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดี และสร้างสมการพยากรณ์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ (ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นตน้ ) ชั้นปที ี่ 1 ทุกสาขาวิชาปกี ารศึกษา 2553 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 229 คน ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random
sampling) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีดังนี้
1. ในภาพรวม ได้แก่ ผลการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (x3) สถิติการขาดเรียนในรายวิชา
คณิตศาสตร์ 2 (x4) การเรียนพิเศษ (x5) และคะแนนผลรวมจากแบบสอบถามเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
(J2) ซึ่งได้สมการถดถอย คือ Ŷ = 3.111+2.191x3-3.464x5-3.639x4+0.343(J2) มีตัวสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด
(R2) เท่ากับ 60%
2. สาขาเครื่องกล ได้แก่ ผลการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (x3) สถิติการขาดเรียนในรายวิชา
คณิตศาสตร์ 2 (x4) การเรียนพิเศษ (x5) และคะแนนผลรวมจากแบบสอบถามเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
(J2) ซึ่งได้สมการถดถอยคือ Ŷ = 6.161+2.336x3-4.024x5-3.265x4+0.279(J2) มีตัวสัมประสิทธิ์
ตัวกำหนด (R2) เท่ากับ 61.4%
3. สาขาไฟฟ้า ได้แก่ ผลการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (x3) สถิติการขาดเรียนในรายวิชา
คณิตศาสตร์ 2 (x4) คะแนนผลรวมจากแบบสอบถามเจตคติต่อครูผู้สอน (J1) และคะแนนผลรวมจากแบบสอบถามเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (J2) ซึ่งได้สมการถดถอยคือ Ŷ = 20.909+2.093x3-3.22x4-0.344
(J1)+0.381(J2) มีตัวสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด (R2) เท่ากับ 67.7%
4. สาขาโยธา ได้แก่ ผลการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (x3) รายได้ของผู้ปกครองต่อเดือน
(x7) การเรียนพิเศษ (x5) และสถิติการขาดเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ 2 (x4) ซึ่งได้สมการถดถอย คือ
Ŷ = 22.340+1.453x3-1.27x7-2.735x5-7.138x4 มีตัวสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด (R2) เท่ากับ 55%

References

นรีนุช ยุวดีนิเวศ. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโปรแกรม
วิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปาริชาติ บัวเจริญ. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนสูง และนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. รายงานวิจัยสถาบันเทคโนโลยี
ราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ.

เรืองรอง จรูญพงษ์ศักดิ์. (2550). องค์ประกอบที่มีผลสัมฤทธิ์ทากงการเรียนวิชาพื้นฐานของนักศึกษา
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสาร BU Academic review, ปีที่ 6(1)
(มกราคม-มิถุนายน 2550), 97-109

สมลวย สุติยไทย. รูปแบบของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาโท). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เสาวลักษณ์ มาวงศ์. (2548). การเรียนพิเศษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนอนุบาล
เชียงใหม่. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาโท). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอนก เตซะสุข. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เจตคติต่อครูผู้สอน
ความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แรงจูงใจ
ใฝสั่มฤทธ์ิ และความมีวินัยในตนเองกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร ์ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดกาฬสินธุ์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาโท). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.

Anastasi, A. (1982). Psychological Testing. (5th ed.). New York: Macmillan Publishing Company,
Inc.

Bloom, Benjamin S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York:
McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2018

How to Cite