หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 การดำเนิน
การวิจัย ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 27 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน
299 คน ในปีการศึกษา 2554 จำนวนทั้งสิ้น 326 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive
Sample) และการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) 2) การนำเสนอหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผล
ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สุพรรณบุรี เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1) แบบสอบถาม
ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Production Moment
Correlation Coefficient) และวิเคราะหก์ ารถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression
Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับของ
ประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) หลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทาง
การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
4) หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 สามารถพยากรณ์โดยภาพรวมได้ร้อยละ 70.04 นอกจากนี้
พบว่าหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และ
หลักความคุ้มค่า ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐาน
ได้ดังนี้ Z’y=.066(Z3)+.044(Z6)+.045(Z2)+.038(Z4)+.044(Z5)+.041(Z1)
References
สถานศึกษากับประสิทธิผลการจัดการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหาร
การศึกษา) เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
กุลธิดา อินทรอักษร. (2543). คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ภาคราชการกับ
การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance): ศึกษากรณีกระทรวง
ศึกษาธิการ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์) กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2544). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
จิตติมา นันทพานิช. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารกับประสิทธิผล
ของสถานศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหาร
การศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2546). เรื่องความสำเร็จ
และบทเรียนในการสร้างธรรมาภิบาลในส่วนราชการ. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือน.
สมเกียรติ เมืองจันทร์. (2550). การจัดระบบงานศูนย์สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). ภาวะผู้นำองค์กร. กรุงเทพฯ: สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา.