กระบวนการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 การดำเนิน
การวิจัยประกอบด้วย ขั้นตอน คือ 1) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 27 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 299 คน
ในปกี ารศึกษา 2554 จำนวนทั้งสิ้น 326 คน ซึ่งไดม้ าโดยการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sample)
และการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) 2) การนำเสนอกระบวนการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี
เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) แบบสอบถามประมาณค่า
5 ระดับ มีค่าความเที่ยง 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Production Moment Correlation Coefficient)
และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย
พบว่า 1) ระดับของกระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับของประสิทธิผล
ของโรงเรียนขยายโอกาสการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) กระบวนการจัดการความรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 มีความสัมพันธ์กัน
4) กระบวนการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 สามารถพยากรณ์โดยภาพรวมได้ร้อยละ 99.14
นอกจากนี้ พบว่าการบ่งชี้ความรู้ การสร้าง และแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวล
และกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ การเข้าถึงความรู้ และการเรียนรู้ ส่งผลต่อประสิทธิผล
ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z’y=0.030 (Z)+0.098 (Z5)+
0.144 (Z2)+0.119(Z4)+0.145(Z3)+0.543(Z1)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2551). ศาสตร์การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ.
ศัชชญาส์ ดวงจันทร์. (2550). ศึกษารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน
ในองค์กร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นวัตกรรมการจัดการนโยบายและยุทธศาสตร์). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2549). การจัดการความรู้.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
บุ๊คพอยท์.