การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41

ผู้แต่ง

  • Suttipong Tammasorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาของสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา 2) ศึกษา
สภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์
การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา 4) ประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ และปัญหาของสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 41 สรุปได้ดังนี้
1.1 สภาพของสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษามีการพัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่
และสภาพแวดลอ้ มใหมี้ความสวยงาม อยูใ่ นสภาพใชง้ านได ้ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดา้ นสิ่งแวดลอ้ ม
ดว้ ยวิธีการที่หลากหลาย มีการจัดทำโครงการ กิจกรรมเกี่ยวกับการสง่ เสริมการเรียนรูส้ ิ่งแวดลอ้ มทั้งกิจกรรม
ตามหลักสูตร และกิจกรรมอิสระทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา
1.2 ปัญหาของสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับห้องน้ำ
มีสภาพชำรุดทรุดโทรม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมขาดความน่าสนใจ การจัดกิจกรรม
ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมขาดการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการวางแผนจัดกิจกรรม และขาดการ
ประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
2. สภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 สรุปผลได้ดังนี้
2.1 สภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา พบว่า มีการจัดทำโครงการ ด้านอาคาร
สถานที่ และสภาพแวดล้อมไว้ในแผนพัฒนาสถานศึกษา และมีการกำหนดบุคลากรรับผิดชอบอย่างชัดเจนมีการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อม ตามบริบทของสถานศึกษา
มีการจัดทำโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมไว้ในแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา มีการจัดทำโครงการ
กิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาร่วมกับชุมชน
2.2 ปัญหาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา พบว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์
ไม่เพียงพอกับนักเรียน การขาดความตระหนักของบุคลากร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดา้ นสิ่งแวดลอ้ ม
ของสถานศึกษาไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของนักเรียนและชุมชน การนิเทศ ติดตาม
ประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่เป็นระบบ การประสานความร่วมมือ
ระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงาน และชุมชนไม่เป็นระบบและต่อเนื่อง
2.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา พบว่า ปัจจัยภายในที่
เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้างและ
นโยบาย 2) ด้านระบบบริการ 3) ด้านบุคลากร 4) ด้านการเงิน 5) ด้านวัสดุอุปกรณ์ และ 6) ด้านการ
บริหารจัดการ ปจั จัยภายนอกที่เกี่ยวขอ้ งกับการบริหารจัดการสิ่งแวดลอ้ มในสถานศึกษา 4 ดา้ น ประกอบดว้ ย
1) ด้านสังคม และวัฒนธรรม 2) ด้านเทคโนโลยี 3) ด้านเศรษฐกิจ และ 4) ด้านการเมืองและกฎหมาย
3. กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 41 ประกอบดว้ ย 1) สง่ เสริมการกำหนดนโยบาย และวางแผนการดำเนินงานดา้ นสิ่งแวดลอ้ ม
โดยการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา และชุมชน 2) เพิ่มขีดความสามารถการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา 3) ยกระดับการมีส่วนร่วมของนักเรียนและ
บุคลากรในการจัดบรรยากาศอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม จนเป็นวัฒนธรรมสถานศึกษา 4) เพิ่มขีด
ความสามารถของบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา
และความต้องการของสถานศึกษา และชุมชน 5) เพิ่มประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการของสถานศึกษา และชุมชน 6) ส่งเสริม
และพัฒนาแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา และชุมชน 7) เร่งรัด
การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการของ
สถานศึกษา และชุมชน ให้เป็นระบบ และต่อเนื่อง 8) รณรงค์การประสานความร่วมมือในการดำเนินงาน
ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างสถานศึกษา และชุมชน 9) ปรับระบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน
ด้านสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา และชุมชน
4. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ มาตรการ
และตัวชี้วัด มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการยอมรับได้ อยู่ในระดับมาก และ
มากที่สุด

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

______. (2553). เพื่อนครู: กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาพัฒนาโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2553). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

ชาติชาย ศักดิ์คำดวง. (2542). ศึกษาการบริหารงานสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนจาตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก
จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณรงค์ ไชยชาติ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของ
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วิทยานิพนธค์ รุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ประเสริฐ ภู่เงิน. (2546). การพัฒนากลยุทธ์การจัดกิจการนักศึกษาของสถาบันราชภัฏเพื่อส่งเสริม
ทักษะการจัดการของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบุญ ศิลป์รุ่งธรรม (2547). อนาคตภาพหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในทศวรรษหน้า (ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2547-2557). วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สำเริง วงษ์เจริญ. (2549). การบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏราชนครินทร์.

สุชาติ โสมประยูร และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2544). การบริหารงานในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สุดา ประยงค์พันธ์. (2539). การศึกษาการบริหารสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรเดช บุญไชโย. (2541). การบริหารงานสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดมหาสารคาม: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร. วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite