การศึกษากระบวนการเตรียมวงโยธวาทิตในระดับชั้นมัธยมศึกษา เพื่อเข้าร่วมแข่งขันวงโยธวาทิตระดับนานาชาติ

ผู้แต่ง

  • Tamee Thongsai

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเตรียมวงโยธวาทิตในระดับชั้นมัธยมศึกษา
รายการแข่งขัน WMC และได้คะแนนรวมในการแข่งขันตั้งแต่ 85.00 คะแนนขึ้นไป ในปี พ.ศ.2552 ซึ่งเป็น
ปีล่าสุดที่ได้มีการจัดการแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร 4 คน อาจารย์ผู้ควบคุมวง 4 คน
นักดนตรีและนักแสดงประกอบภายในวงที่ได้เข้าร่วมแข่งขันในปี พ.ศ.2552 และยังคงเป็นสมาชิกภายในวง
กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเฮนเดล (Darwin Hendel, 1977) ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% จำนวน
83 คน จากประชากรทั้งหมด 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน
3 ฉบับ สำหรับผู้บริหารโรงเรียน อาจารย์ผู้ควบคุมวง และนักเรียนวงโยธวาทิต ได้ผลการวิจัยดังนี้
1. ด้านการจัดวางแผนดำเนินงานและแผนการฝึก มีการจัดทำแผนโครงการเพื่อเข้าแข่งขันล่วงหน้า
อย่างน้อย 1 ปี การวางแผนการฝึกจะไม่มีตารางการฝึกซ้อมที่ตายตัว ใช้การปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา
ที่เห็นว่ามีความเหมาะสม
2. ด้านการคัดเลือกนักดนตรีวงโยธวาทิตและนักแสดงประกอบ มีการรับสองวิธีการด้วยกัน คือ
รับนักเรียนตามความสมัครใจโดยที่ไม่มีการทดสอบความสามารถทางด้านดนตรี และระบบการสอบคัดเลือก
ด้วยความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี
3. ด้านการจัดการบุคลากร ผู้ควบคุมวงทำการคัดเลือกทีมผู้ฝึกสอนเพิ่มเติมตามรูปแบบการฝึกซ้อม
และมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเข้ามาปรับรูปแบบวงเป็นช่วงๆ โดยการว่าจ้างเป็นกรณีพิเศษ
4. ด้านการจัดการงบประมาณ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายภายในประเทศไทย
ค่าใช้จ่ายภายในประเทศเนเธอร์แลนด์ และค่าตั๋วเครื่องบิน ซึ่งแต่ละวงใช้งบประมาณขั้นต่ำอยู่ที่ 5 ล้านบาท
เงินงบประมาณที่ได้ส่วนใหญ่ได้มาจากการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก5. สภาพและปัญหาในการฝึกซ้อมของนักดนตรีวงโยธวาทิตและนักแสดงประกอบ มีสภาพการฝึกซ้อม
ที่เข้มข้นและเป็นระเบียบ เน้นระบบรุ่นพี่-รุ่นน้อง ปัญหาที่พบคือเรื่องของสภาพอากาศ การขาดซ้อม และ
เรื่องของความไม่พร้อมเพรียงกันของสมาชิกวง

References

กฤษณ์ ภูริเทเวศร์. (2550). สภาพและปัญหาการเตรียมวงโยธวาทิตในระดับชั้นมัธยมศึกษา
เพื่อเข้าร่วมประกวดวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 26
ประจำปี 2550. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนาคาร แพทย์วงษ์. (2555). วงโยธวาทิต. [ออนไลน์]. ค้นวันที่: 16 พฤษภาคม 2555. จาก http://
kruthanakhan.blogspot.com.

ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2553). การบริหารวิชาการดนตรี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วิชา เชาว์ศิลป์. (2547). เอกสารคำสอนรายวิชาหลักการโยธวาทิต. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์. (2539). ทฤษฎีและกระบวนการเรียนวิชาดนตรี. นครปฐม: สำนักงานส่งเสริม
และพัฒนาวิชาการดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สธน โรจนตระกูล. (2554). การจัดการวงโยธวาทิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สิทธิ สิทธิการุณย์. (2545). การบริหารกิจกรรมนักเรียนด้านการจัดการวงโยธวาทิต: กรณีศึกษา
โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพจน์ เจนณะสมบัติ. (2542). การศึกษาการบริหารกิจกรรมนักเรียน ด้านการจัดการวงโยธวาทิต
ของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2539-2542.

วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

อำนวย แสงสว่าง. (2542). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: หจก.ทิพย์วิสุทธ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite