การละเมิดสิทธิ์สินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุในเขตเศรษฐกิจชายแดน กรณีศึกษาเขตพื้นที่ชายแดน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า

ผู้แต่ง

  • Sawang Kansriviang

คำสำคัญ:

ลิขสิทธิ์, ลิขสิทธิ์, โสตทัศนวัสดุ, โสตทัศนวัสดุ, เศรษฐกิจชายแดน, เศรษฐกิจชายแดน, อำเภอแม่สาย, อำเภอแม่สาย, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดเชียงราย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุ 2.  ศึกษาการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ สินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุ 3.  ศึกษาแนวทางและมาตรการป้องกันปราบปราม การละเมิดลิขสิทธิ์ สินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุ และ 4.  เสนอแนวทางการแก้ปัญหามาตรการป้องกันปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุ ในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 388  คน คือ  ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์ข้อความ Content Analysis  แล้วนำมาบรรยายในรูปของความเรียง

               ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการละเมิดสินค้าโสตทัศนวัสดุลิขสิทธิ์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต สามารถทำได้ง่าย การจำหน่ายสินค้าที่ถูกกฎหมายมีค่าใช้จ่ายสูง ขั้นตอนการขออนุญาตยุ่งยากและผู้บริโภคไม่ได้มีจิตสำนึกในการใช้ของถูกกฎหมาย นิยมใช้สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีราคาถูกทำให้เป็นการสนับสนุนการซื้อ-ขายสินค้ามากขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าโสตทัศนวัสดุส่วนใหญ่เป็น CD/VCD/DVD MP3 MP4 สาเหตุที่ซื้อเนื่องจากมีราคาถูกกว่าของถูกลิขสิทธิ   

               การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่พบว่า  เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากสินค้าโสตทัศนวัสดุละเมิดลิขสิทธิ์ในพื้นที่มีอยู่มากมาย  มี วางจำหน่ายมากเกินกว่ากำลังของเจ้าหน้าที่จะติดตามตรวจสอบได้  บางพื้นที่เป็นแหล่งอิทธิพลและการดำเนินการตรวจค้นต้องมีหมายจับ เป็นต้น ซึ่งเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย

               แนวทางและมาตรการป้องกันปราบปราม การละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุ ส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน โดยผู้บริโภคต้องมีจิตสำนึกในการใช้สินค้าลิขสิทธิ์ ไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่ส่งเสริม/สนับสนุนสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์  ผู้ประกอบการ/เจ้าของลิขสิทธิ์หาวิธีการลดราคาสินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาใช้สินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุลิขสิทธิ์  รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีในการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาใช้สินค้าลิขสิทธิ์ให้มากขึ้น ให้ข้อมูลการใช้สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือการละเมิดลิขสิทธิ์มีผลเสียอย่างไร หากใช้สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์จะได้รับโทษอย่างไร  

               ตำรวจ เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานที่มีอำนาจในการลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ควรได้รับการอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ให้มีประสิทธิภาพ หาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อฝ่ายเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ประกอบการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาก ควรปรับปรุง พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ให้มีบทลงโทษที่เด็ดขาด รวมถึงมียุทธศาสตร์ในการปราบปรามสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมอบนโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประสานงานร่วมมือกัน เช่น กรมคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

            มาตรการป้องกันปราบปราม การละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าประเภทโสตทัศนวัสดุควรมีการรณรงค์ให้ใช้สินค้าที่มีลิขสิทธิ์  และขายสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ให้ถูกลง ควรจะมีโทษสำหรับผู้ซื้อ  เนื่องจากสาเหตุของการละเมิดลิขสิทธิ์คือตัวผู้ซื้อ  เมื่อไม่มีผู้ซื้อย่อมไม่มีผู้ขาย  ผู้ค้าและผู้ผลิตก็ไม่มีตามมา ซึ่งเป็นไปตามหลักอุปสงค์  อุปทาน กฎหมายไม่ครอบคลุมถึงการบังคับใช้ต่อผู้สนับสนุนการกระทำผิดที่เป็นผู้ซื้อ ทำให้มีผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก อีกทั้งผู้ซื้อไม่มีความรู้สึกว่าตนเองกระทำความผิด มองเป็นเรื่องปกติจึงควรมีการเพิ่มโทษเอาผิดกับผู้ซื้อ โดยการออกกฎหมายเอาผิดกับผู้ซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

References

ปฏิพล พ่วงเฟื่อง, “ปัญหาการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ของตำรวจในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่”. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.

ปิยะ ธนกาญจน์. “พฤติกรรมการซื้อเทปเพลงสากลลิขสิทธิ์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่”. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537.

วรเดช จันทรศร. การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2540.

สุจิต สีสงวนสุข. “แนวโน้มทิศทาง: เทคโนโลยีป้องกันการละเมิด ทางออกแห่งการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา”. กรุงเทพธุรกิจ. 10 เมษายน 2548, หน้า 3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2018

How to Cite