การพัฒนาระบบประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนสบต๋ำวิทยา (แปงภักดีอุปถัมภ์)

ผู้แต่ง

  • Jintakan Saonork

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ระบบประเมินผล, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสบต๋ำวิทยา (แปงภักดีอุปถัมภ์) เพื่อศึกษา          ความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสบต๋ำวิทยา (แปงภักดีอุปถัมภ์) ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยคือ  ผู้บริหารโรงเรียน  ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6 ในปีการศึกษา 2552 คณะกรรมการสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  แบบประเมินพฤติกรรม  แบบทดสอบ  แบบสอบถาม  แบบบันทึก  แบบสังเกต  แบบรายงาน  แบบสำรวจ  แบบประเมินความเหมาะสม   การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ  ใช้สถิติบรรยายได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า  ระบบประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6โรงเรียนสบต๋ำวิทยา(แปงภักดีอุปถัมภ์)ที่เหมาะสม ประกอบด้วย 4  องค์ประกอบหลักคือ 1) องค์ประกอบด้านปัจจัย 2) องค์ประกอบด้านกระบวนการ 3) องค์ประกอบด้านผลผลิต  4) องค์ประกอบด้านข้อมูลป้อนกลับ ผลการประเมินความเหมาะสม โดยมีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับ  มากที่สุด  การประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6 โรงเรียนสบต๋ำวิทยา(แปงภักดีอุปถัมภ์) ประเมินด้านมาตรฐานความถูกต้องครอบคลุม  ด้านมาตรฐานการใช้ประโยชน์ ด้านมาตรฐานความเป็นไปได้และด้านมาตรฐานความเหมาะสม  มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสม อยู่ในระดับ มาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ
: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จุฑามาศ บัตรเจริญ.(2547). การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลสาระการเรียนรู้พลศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในระดับมัธยมศึกษา. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงเยาว์ อุทุมพร.(2547). การพัฒนาระบบการส่งเสริมการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2538). การพัฒนาระบบการประเมินตนเองในการใช้หลักสูตรสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัย

วิทยา คู่วิรัตน์.(2539). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนคาทอลิกอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สุวิมล ว่องวาณิช.(2543). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนาระบบประเมินผลภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : วี ที ซี คอมมิวเคชั่น.

อังคณา ตุงคะสมิต.(2550). การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม:กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านนาศรีดงเค็ง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2018

How to Cite