สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาดนตรี ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • Yutthanawee Muangsong

คำสำคัญ:

สภาพปัญหา, การเรียนการสอน, ดนตรี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนวิชาดนตรี ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนวิชาดนตรี ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นครูที่สอนวิชาดนตรี จำนวน 294 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Radom Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการศึกษา พบว่า

  1. สภาพปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง สำหรับด้านที่มีปัญหามาก คือ ด้านสื่อการสอน ส่วนด้านที่มีปัญหาปานกลาง คือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา ด้านหลักสูตร และ สำหรับปัญหาในแต่ละด้าน ด้านหลักสูตร มีปัญหามากเกี่ยวกับ ความเพียงพอของเอกสารประกอบหลักสูตรต่อจำนวนครูผู้สอน ด้านเนื้อหา มีปัญหามากเกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหากิจกรรมเน้นการฟังและการร้องเพลงเพื่อจัดทำแผนการสอน และการวิเคราะห์เนื้อหากิจกรรมเน้นจังหวะด้วยตนเอง ด้านการจัดการเรียนการสอน มีปัญหามากเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเพลง การจัดการเรียนการสอนเนื้อหาการรวมวงเล่นเครื่องเคาะจังหวะ และการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเพลงพระราชนิพนธ์  ด้านสื่อการสอน มีปัญหามากเกี่ยวกับ การใช้เครื่องตั้งจังหวะ(Metronome) ในการสอน คุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ การผลิตสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนให้เหมาะสมกับท้องถิ่น การจัดสรรอุปกรณ์จากหน่วยงานเบื้องต้น สอดคล้องกับความต้องการและหลักสูตร และความเพียงพอของคู่มือครู (ตามหลักสูตรฉบับปรับปรุง) ด้านการวัดและประเมินผล มีปัญหามากเกี่ยวกับ มีแบบสำรวจความบกพร่องของตนเอง หรือกลุ่มของตนในการปฏิบัติกิจกรรม โดยนักเรียนเป็นผู้บันทึก มีแบบประเมินการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ มีแบบตรวจสอบรายการ การนำวิธีการหรือผลงานทางด้านดนตรีไปประยุกต์ใช้
  2. แนวทางการพัฒนา

            ด้านหลักสูตร มีการเสนอให้มีการจัดอบรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์หลักสูตร และทำความเข้าใจในจุดมุ่งหมายในหลักสูตรหลักสูตรให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ควรจะจัดเอกสารให้เพียงพอมากเก่า โดยการจัดงบประมาณการจัดซื้อเอกสารเกี่ยวกับหลักสูตร ด้านเนื้อหา  ควรจัดอัตราครูดนตรีโดยเฉพาะมาทำการสอน หรือควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ การวิเคราะห์เนื้อหาเนื้อหา หรือกิจกรรมที่เน้นปฏิบัติ และให้มีการรวมกลุ่มจัดทำแผนการสอนรวมกัน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรให้ความสำคัญ และมีนโยบายในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรจัดอบรวมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาดนตรีไทย และดนตรีสากล ให้ครูที่สอนวิชานี้เป็นแนวทางสำหรับครูในการจัดการเรียนการสอน ให้แม่นยำยิ่งขึ้น ฝึกให้นักเรียนปฏิบัติมาก ๆ และควรจัดครูผู้สอนวิชาดนตรีโดยเฉพาะมาทำการสอน ด้านสื่อการสอน ควรให้มีการจัดฝึกอบรมการใช้สื่อต่าง ๆ และการผลิตสื่อในวิชาดนตรี ควรจัดห้องเรียนโดยเฉพาะสำหรับวิชาดนตรี ผู้บริหารควรให้ความสำคัญสำหรับวิชานี้ และจัดสรรอุปกรณ์การเรียนการสอน จัดงบประมาณเพื่อใช้ในการผลิตสื่อต่าง ๆ สำหรับใช้ในด้านนี้ ด้านการวัดและประเมินผล ควรจัดอบรมการวัดและการประเมินผล และการออกข้อสอบให้ตรงตามจุดประสงค์ วิชาดนตรี

 

References

กรมการฝึกหัดครู, กรม. (2529). การสอนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย เล่ม 3 ดนตรีนาฏศิลป์. กรุงเทพ ฯ :ภาคพัฒนางานวิจัย กรมฝึกหัดครู.

วิชาการ, กรม. (2531). คู่มือการสอนวิชาศิลปศึกษา และดนตรีศึกษา ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : กรม
วิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

วิชาการ, กรม. (2544). หลักสูตรขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์.

อรวรรณ ขมวัฒนา และคณะ. (2532). ความคิดเห็นเกี่ยวกับดนตรี ที่มีส่วนสนับสนุนดนตรีไทในโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในส่วนกลาง. กรุงเทพ ฯ : กองวิจัยและการวางแผน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนะธรรมแห่งชาติ.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2534). กิจกรรมดนตรีสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดใจ ทศพร และโชดก เก่งเขตรกิจ. (2540). ศิลปะกับชีวิต ศ 305. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ : ไทยวัฒนา พานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2018

How to Cite