แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
คำสำคัญ:
โรงเรียนขยายโอกาส, ค่านิยมหลัก 12 ประการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพและปัญหาหารบริการสถานศึกษา 2. เพื่อพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการของโรงเรียนขยายโอกาส และ 3. ตรวจสอบความเหมาะสมของแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 1 คน ศึกษานิเทกศ์กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาจำนวน 1 คน นักวิชาการศึกษาจำนวน 1 คน ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจำนวน 25 คน และ ครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจำนวน 173 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 รวมประชากรทั้งสิ้นจำนวน 201 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพในการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและปัญหาการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการอยู่ในระดับน้อย และแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ด้านคือ ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านที่ 2 ด้านการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านที่ 3 ด้านการจัดแหล่งเรียนรู้ โดยในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90
References
ลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้า
และพัสดุภัณฑ์
กาญจนา วัฒายุ. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนพรการพิมพ์.
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์
นันทพร เชื้อคำ และคณะ. (2555). บทบาทของผู้ปกครองในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม ที่พึง
ประสงค์แก่นักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ประยูร พรมสูตร. (2550). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ของนักเรียน โรงเรียนชุนบ้าน
ปะโค สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1. หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1.
พัฒนา สาธร. (2552). การพัฒนาคุณธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนวิทยาลัยกาญจนาภิเษกเชียงราย. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
รุ่งฟ้า ล้อมในเมือง และคณะ. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่
ดีงามและการสร้างเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับเยาวชน จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหา
สารคาม, 3(3), 121.
วีรพงษ์ คล้อยดี. (2558). กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน. สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 6(6), 57.
ศิริวรรณ กันศิริ. (2559). การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดกำแพงเพชร. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. (2553). ทศวรรษการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ระวังทางวัฒนธรรม.
สุทิน ศรีโมรา. (2548). ศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตเทศลายและนอกเขตเทศบาล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อำนวย โคนะโล. (2559. สภาพการดำเนินงานส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อำไพ คำรอด. (2549). การศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนวิถีพุทธ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.