การพัฒนาหลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • นางธัญญาศิริ วงค์คำปวง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, ความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ, การพัฒนาหลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 เป็นการวิจัยแบบ 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย หลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ  แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า ได้หลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ มีโครงสร้าง 4 หน่วย การเรียนรู้ และมีความเหมาะสมในระดับมาก นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม  และ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรสุภา

ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุรีภรณ์ มะเลโลหิต. (2560). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

ของนิสิตที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยทักษิณ. อินทนิลทักษิณสาร, 13(3).

สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org

ชัษษพณขิ์ สุรปญฺโญ, สมบูรณ์ ตันยะ. (2559). การศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียน

ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารราชพฤกษ์. 14 (2), 75-82.

ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล, จักรกฤษณ์ สำราญใจ, บุปผา สมมะโน, วิไลลักษณ์ จั่นวงษ์, และธนพร หมูคำ. (2555).

โครงการการพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษา ชั้นปีที่ 4 - 6 ด้วยเครือข่ายหนุนเสริม

การเรียนรู้จังหวัดลำปาง. สืบค้นจาก https://elibrary.trf.or.th

ธนพร หมูคํา, และดวงจันทร์ เดี่ยววิไล. (2561). กระบวนการหนุนเสริมสมรรถนะการอ่านให้แก่นักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดลําปาง. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

(2), 117-133. สืบค้นจาก https://elibrary. trf.or.th

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปรินท์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). สรุปข้อมูลเบื้องต้น PISA 2015. สืบค้นจาก

https://pisathailand.ipst.ac.th/

Krashen, S. & Krashen, R.S. (1987). Theoretical Research and Second Language Acquisition Theory

In Methodology in TESOL: A Book of Readings. New York: New Bury House.

Nurul, L, K . & Ninuk L. (2017). Improving English Reading Comprehension Ability through Survey,

Questions, Read, Record, Recite, Review Strategy (SQ4R), Journal Eanglish Language Teaching, 10 (12),

-10. Retrieved from http://www.ccsenet.org

Wildova, R. ( 2014 ). Initial Reading Literacy Development in Current Primary School Practice. Prague:

Charles University.

Zimmerman, L. (2018) learning from the best: rading literacy development practice at a high performing

primary school. South Africa: Per Linguam.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2020

How to Cite