ความคาดหวังของสังคมต่อหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตามแนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • อัศว์ศิริ ลาปีอี

คำสำคัญ:

ความคาดหวังของสังคม, หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคาดหวังของสังคมต่อการจัดการสอนหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รวมถึงเสนอแนวทางการดำเนินงานตามกรอบมโนทัศน์การพัฒนาทักษะแก่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวการวิจัยเชิงผสานวิธี ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนของหน่วยราชการส่วนภูมิภาค จำนวน 32 องค์กร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 248 องค์กร ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพรและระนอง รวมทั้งสิ้น 280 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน สู่การตีความสร้างข้อสรุป ทั้งนี้พบว่าความคาดหวังต่อการจัดการเรียนรู้หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตภาพรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับความคิดเห็นต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน ขณะที่ข้อสนับสนุนเชิงแนวคิดต่อกระบวนการเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบทการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีนั้น ควรเน้นผลิตสร้างองค์ความรู้ด้วยฐานคิด “การศึกษาพลเมือง” พร้อมขับเคลื่อนกลไกยกระดับความเข้มแข็งทางวิชาการเพื่อการพัฒนาสังคมท้องถิ่นภาคใต้ในกระแสการเปลี่ยนแปลงและสอดรับกับความเป็นสากลตามปรัชญาที่กำหนด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ไชยวัฒน์ เผือกคงและคณะ. (ม.ป.ป). การศึกษาความต้องการต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี:

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (อัดสำเนา)

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8).

กรุงเทพ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2553). พลเมืองศึกษา (Civic Education): พัฒนาการเมืองไทยโดยสร้าง ประชาธิปไตยที่ “คน”. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. จาก: http://social.obec.go.th/node/64

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (ม.ป.ป). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. จาก: http://www.sru.ac.th/university-info/philosophy-vision-missions.html

วรลักษณ์ คำหว่าง และนงลักษณ์ ใจฉลาด. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎ ลำปาง, 6(1), หน้า 129-138.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

สมคิด พรมจุ้ย . (2538). เอกสารประกอบการสอนวิชาวิจัยทางการศึกษานอกโรงเรียน เรื่องคุณภาพของ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : ประชาชนจำกัด

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), หน้า 1-17.

อภิรดี จิโรภาสและอัศว์ศิริ ลาปีอี. (2561). ประเมินหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อริยา คูหา. (2546). แรงจูงใจและอารมณ์. ปัตตานี: ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

Beauchamp, George A. (1981). The Curriculum of Elementary School. Boston : Allyn and acon Inc.

Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York : Harper.

Levin, H.M.(1993). Building School Capacity for Effective Teacher Empowerment:Application to Elementary School With At-Risk students. In Advances in Research and Theories of School Management and Educational Policy. (Volume 2. Edited by Samuel B. Bacharach and Rodney T. Ogawa. p. 187-216. Greenwich, CO : JAI Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2020

How to Cite