การพัฒนามาตรวัดทักษะชีวิตของนักเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
มาตรวัด, ทักษะชีวิต, นักเรียนอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดทักษะชีวิตของนักเรียนอาชีวศึกษา และตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดทักษะชีวิตของนักเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งในด้านคุณภาพรายข้อ ความตรงและความเที่ยงทั้งฉบับ ประชากรเป็นนักเรียนที่ศึกษาด้วยวิธีเทียบโอนความรู้และประสบการณ์งานอาชีพ วิทยาลัยการอาชีพบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 343 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานของมาตรวัดทักษะชีวิต วิเคราะห์ค่าดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ และค่าความเที่ยงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า มาตรวัดทักษะชีวิตของนักเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยข้อคำถามทั้งสิ้น 117 ข้อ ซึ่งจำแนกเป็นองค์ประกอบหลัก 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้าน การตัดสินใจ (11 ข้อ) 2) ด้านการแก้ปัญหา (11 ข้อ) 3) ด้านการคิดสร้างสรรค์ (11 ข้อ) 4) ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (10 ข้อ) 5) ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (12 ข้อ) 6) ด้านการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (14 ข้อ) 7) ด้านการตระหนักรู้ในตน (15 ข้อ) 8) ด้านการเข้าใจผู้อื่น (12 ข้อ) 9) ด้านการจัดการกับอารมณ์ (10 ข้อ) และ10) ด้านการจัดการความเครียด (11 ข้อ) ข้อคำถามทุกข้อมีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI/Ave) เท่ากับ .93 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.453 ถึง 0.749 ค่าความเที่ยงแต่ละด้านตั้งแต่ 0.912 ถึง 0.953 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.989
References
ดุสิต ทีบุญมา, ไพศาล วรคำ, และพงศ์ธร โพธิ์พลูศักดิ์. (2556). การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(3), 137-146
ผดุง จิตเจือจุน. (2562). สถานการณ์ปัจจุบันของเด็กและเยาวชนไทย น่าวิตกในอนาคตยิ่งน่าเป็นห่วง. วันที่ สืบค้น ข้อมูล 21 มกราคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1313057
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2559). สังคมไทยสังคมโลก. วันที่สืบค้นข้อมูล 23 มกราคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.bsru.ac.th/identity/archives/2619
สยามรัฐ. (2560). เสริมทักษะชีวิตแก้วัยรุ่นตีกัน. วันที่สืบค้น ข้อมูล 26 มกราคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://siamrath.co.th/n/18615
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2559). เยาวชนไทย ท่ามกลางกระแสโลก จะเป็นพลังแห่งอนาคต หรือความสิ้นหวังในสังคม. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มกราคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/young_th/article_view.php?nid=143
Giri, D., & Sharma, J. (2019). PROMOTION OF LIFE SKILL EDUCATION FOR ADOLESCENTS. Tạp chí Nghiên cứu dân tộc, 8(1).
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology.
Pallant, J. (2013). SPSS Survival Manual: A Step by Step Guide to Data Analysis Using the SPSS Program (5th ed.). Maidenhead, Berkshire, England: McGraw-Hill.
Polite, D. F., & Beck, C. T. (2006). The Content Validity Index: Are you sure you know what’s being reported? Critique and Recommendations. Research in Nursing & Health, 29, 489-497.
Strickland, O., Lenz, E. R., & Waltz, C. F., (2010). Measurement in nursing and health research. Springer Pub.
World Health Organization. (1997). Life skills education in schools (revised edition). Geneva: World Health Organization - Programme on Mental Health.