มาตรการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 : กรณีศึกษาการจัดสรรที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ลัทธพล มุ่งไธสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • รุ่ง ศรีสมวงษ์

คำสำคัญ:

การจัดสรรที่ดิน, มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรร, ธุรกิจจัดสรรที่ดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง มาตรการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กรณีศึกษาการจัดสรรที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยมีความประสงค์จะทำการศึกษาปัญหา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ศึกษาวิเคราะห์มาตรการ ทางกฎหมายทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนากำหนดมาตรการและแนวทางในการปรับปรุงระบบการจัดสรรที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย และต่างจังหวัด ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายใต้บริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีวิจัยโดยทำการศึกษาเชิงผสมผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากองค์ความรู้จากการวิเคราะห์ ข้อกฎหมาย การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญกับการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยสำรวจความคิดเห็น ของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย และนำข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษามาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบตามระเบียบวิธีการวิจัย จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัญหาการจัดสรรที่ดินในปัจจุบันส่วนหนึ่งมีการหลีกเลี่ยง การขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนมาก ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด สืบเนื่องจากมาตรการทางกฎหมายในการขออนุญาตจัดสรรที่ดินไม่คุ้มค่า ต่อการลงทุนสำหรับโครงการขนาดเล็ก และมาตรฐานการจัดสรรที่ดินพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ใช้มาตรฐานเดียวกันกับโครงการขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันประชาชนในต่างจังหวัดมีความต้องการที่อยู่อาศัยของตนเองในราคาที่เหมาะสม เนื่องจากมีรายได้อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับน้อยและ พฤติกรรมความต้องการของประชาชนไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นประจำทุกเดือนให้กับ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เนื่องจากการบริการสาธารณะและสาธารณูปโภคระดับท้องถิ่นของภาครัฐ ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพและเข้าถึงประชาชนและชุมชน และในระยะยาวการเสียค่าใช้จ่ายให้กับภาครัฐสำหรับการบริการสาธารณูปโภคมีความคุ้มค่ามากกว่า จึงเห็นควรปรับปรุงพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 โดยการขยายกรอบของคำนิยามการจัดสรรที่ดินให้มีความหยืดหยุ่นมากขึ้น ผู้ประกอบการ รายย่อยสามารถลงทุนได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจัดสรรที่ดิน แต่อาจมีมาตรการควบคุมของรัฐในลักษณะอื่น ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกำหนดมาตรฐานในเรื่องขนาดของโครงการแต่ละขนาดให้ชัดเจน และกำหนดพื้นที่ส่วนกลางให้เหมาะสมกับขนาดของโครงการแต่ละขนาด เพื่อลดปัญหาด้านต้นทุนและส่งผลให้ประชาชนสามารถซื้อที่ดินในราคาที่ถูกลง และเป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะประสานประโยชน์ระหว่างกันมากขึ้น ลดปัญหาการหลีกเลี่ยงกฎหมาย และส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในระดับท้องถิ่นให้มีรากฐานที่มั่นคง ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ในฐานะผู้บริโภค และสามารถมีที่อยู่อาศัยของตนเองได้ โดยไม่เกินความสามารถทางเศรษฐกิจของครอบครัว

References

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2545. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 66 ง. หน้า 69 – 88.

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 90

ตอนที่ 10. หน้า 8 - 9.

ปกรณ์ ยิ่งวรการ. (2560). สิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมายของอังกฤษและประเทศไทย. วารสารดุลพาห, 64(1), 127-153.

พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543. ราชกิจจานุเบกษา. รจ. 117 ก ตอนที่ 45.

พจน์ สุขมหา. (2556). นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร. กรุงเทพฯ : แอคทีฟพริ้นท์.

พนิตนาถ เย็นทรัพย์. (2559). การใช้หลักกฎหมายทั่วไปในคดีปกครอง : ศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรา 4 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. วารสารดุลพาห, 63(1), 144-164.

เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์. (2560). สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมประเด็นที่ดิน. วารสารดุลพห, 61(2), 110-126.

วิชญะ เครืองาม. (2555). การนำหลักนิติธรรมไปใช้ในภาคเอกชน. บทความวิชาการ รู้ไว้...ต่อยอด ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 16. กรุงเทพฯ : สำนักงานยุติธรรม.

วรวุฒิ เทพทอง. (2562). คำอธิบายกฎหมายที่ดิน. กรุงเทพฯ : นิติธรรม.

กิจ เจริญสุข. (2562). นิยามของ “ผู้ประกอบธุรกิจ” ที่ตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560: ศึกษาเปรียบเทียบการตีความ Article 101 ของ Treaty on the Functioning of the European Union (TFEU). วารสารดุลพห, 66(2), 137-166.

ศุภชัย ประไพนพ. (2559). ข้อเสนอต่อแนวทางการตีความ “คดีผู้บริโภค” Proposal for the Interpretation of “Consumer Cases". วารสารดุลพาห, 63(3), 150-173.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2021

How to Cite