กลวิธีการนำเสนอภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงลบภายใต้วัตถุประสงค์เชิงบวก กรณีศึกษา: หนังสือท่องเที่ยวไทย (ภาษาจีน)

ผู้แต่ง

  • พงษ์เทพ อุทิศานนท์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกวลี เพชราทิพย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กลวิธีการนำเสนอภาพลักษณ์, ข้อเท็จจริง, ความคิดเห็น, ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวประเทศไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงลบภายใต้วัตถุประสงค์เชิงบวก จากหนังสือท่องเที่ยวไทย (ภาษาจีน) จํานวน 3 เล่ม อาศัยแนวคิดเรื่องภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและการนำเสนอภาพลักษณ์มาเป็นแนวทางในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีการนำเสนอภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงลบภายใต้วัตถุประสงค์เชิงบวก แบ่งออกเป็น 4 วิธี คือ 1.การนำเสนอข้อเท็จจริง (ลบ) – การนำเสนอความคิดเห็น (บวก) ผ่านความรู้สึกของผู้เขียน 2.การนำเสนอข้อเท็จจริง (ลบ) – การนำเสนอความคิดเห็น (บวก) ผ่านความรู้สึกของผู้อื่น 3.การนำเสนอข้อเท็จจริง (ลบ) – การนำเสนอความคิดเห็น (บวก) ผ่านการเปรียบเทียบ และ 4.การนำเสนอข้อเท็จจริง (ลบ) – การนำเสนอความคิดเห็น (บวก) ผ่านการเสนอแนะ

References

ปิยวดี เพ็ชรฉาย. (2555). ภาพลักษณ์ของฮิตเลอร์ในวรรณกรรมไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/.

พัชราวลี จินนิกร. (2559). การศึกษาภาพลักษณ์ของตัวละครหญิงในวรรณกรรมเรื่องผู้ชนะสิบทิศ. (วิทยา นิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/.

รัตนวดี เทพช่วยสุข. (2539). การรับรู้ของชาวพุทธต่อภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ กับการนำเสนอผ่านสื่อมวลชน. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/.

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2557). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับ ภาษาไทย, 34(1), 31-50.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทย จำแนกตามสัญชาติ พ.ศ.2552-2561. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2562, จาก: www.statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/17.aspx,

เสรี วงษ์มณฑา. (2541). ภาพพจน์...สำคัญไฉน. กรุงเทพมหานคร: ธีรฟิล์มและไซเท็กซ์.

เสาวรส เปล่งแสงศรี. (2531). หนังสือท่องเที่ยวเมืองไทยที่จัดพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2521-2530. (วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/.

อลินดา ทองชุมสิน. (2558). การรับรู้การจัดการภาวะวิกฤตและภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยใน มุมมองนักท่องเที่ยวต่างชาติ. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้น จาก https://tdc.thailis.or.th/.

อารยา วรรณประเสริฐ. (2542). ภาพลักษณ์ประเทศไทยในสายตานักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์นิเทศศา สตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/.

Marconi, J. (1996). Image marketing: Using public perceptions to attain business objectives. Illinois: NTC Publishing Group.

亲历.(2017).泰国,不负时光的行走.聂浩智,(编辑部).北京:中国铁道出版社.

(ชินลี่. (2017). ประเทศไทยการ, เดินทางที่คุ้มค่ากับเวลา. เนี่ยเฮ่าจื้อ, (บรรณาธิการ). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์จงกั๋ว เถี่ยเต้า)

达尼贾.(2016).泰国,微笑的国度.(第二次印刷).北京:中国铁道出版社.

(ต๋าหนีจย่า. (2016). ประเทศไทย ประเทศแห่งรอยยิ้ม. (พิมพ์ครั้งที่สอง). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์จงกั๋วเถี่ยเต้า)

于岩.(2014).你所不知道的泰国.北京:北京科学技术出版社.

(อี๋ว์เหยียน. (2014). สิ่งที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับประเทศไทย. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์เป่ยจิงเคอเสวียจี้ซู่)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-12-2021

How to Cite