การศึกษาและพัฒนาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
คำสำคัญ:
แนวทาง, การจัดการ, ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย กระบวนการในการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการจัดองค์การ 3) ด้านการนำไปปฏิบัติ และ 4) ด้านการควบคุม โดยในการจัดดำเนินการควรคำนึงถึงปัจจัยนําเข้า ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงกระบวนการ คือ ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและการบริการ ประกอบด้วย สิ่งดึงดูดใจ การคมนาคมขนส่งและเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอํานวยความสะดวก ที่พักและกิจกรรม ในส่วนของผลที่ได้รับภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้สูงอายุควรได้รับประสบการณ์ ความรู้ และประโยชน์ตามสุขภาวะองค์รวม 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.
คมน์สิทธิ์ เดชะรินทร์. (2558). ท่องเที่ยวสไตล์สูงวัยแบบไร้กังวล. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2563, จาก http://www.healthtoday.net/thailand/elderly/elder_142.html
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดการนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2559). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนา สายคณิต. (2556). การบริหารโครงการ : แนวทางสู่ความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศันสนีย์ กระจ่างโฉม, ณรงค์ ศิขิรัมย์, ภัทวรา ปฐมรังษิยังกุล, อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง และ เผชิญวาส ศรีชัย. (2562).
การศึกษาความต้องการกิจกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในพื้นที่อารยธรรมล้านนา. กรุงเทพฯ :
สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.
สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2560). การจัดการ : จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : จีพี. ไซเบอร์พรินท์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. 2557 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์. (2555). รูปแบบการจัดการธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัย
ฟาร์อีสเทอร์น, 6(1), 88-99.
อรนภา ทัศนัยนา. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬาสำหรับผู้สูงอายุโดยมหาวิทยาลัย.
วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 42(2), 237-256.
อานนท์ สีดาเพ็ง และ ปิยะพันธุ์ นันตา. (2563). สภาพและปัญหาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดเชียงใหม่.
วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 8(2), 147-159.
อานนท์ สีดาเพ็ง และ ปิยะพันธุ์ นันตา. (2564). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัย
แม่โจ้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(2). 145-157.
Burrow, J., & Kleindl, B. (2017). Business management (14thed). Boston : South Western.
Goeldner, R. C., & Ritchie, B. J. (2012). Tourism principles, practices, philosophies (20thed).
New Jersey : John Wiley & Sons.
Hinch, T., & Higham, J. (2011). Sport tourism development (2nded). Toronto : Channel View.
Kinicki, A., & William, B. K. (2020). Management: A practical introduction (9thed). New York :
McGraw-Hill Irwin.
Page, S. J. (2019). Tourism management (6thed). New York : Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.