รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพ ด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • สุชีลา ศักดิ์เทวิน

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การพัฒนาศักยภาพ, รูปแบบการจัดการเครือข่าย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องรูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบทบาทหน้าที่ของบุคคลและหน่วย งานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ 2. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ 3.ศึกษารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ กลุ่มคนและบุคคล/หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสัมภาษณ์และสอบถามความคิดเห็นเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สอบถามความคิดเห็น และประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1.บทบาทหน้าที่ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรปราการ มีจำนวน 3 ด้าน ดังนี้ 1.1ด้านการส่งเสริมการสร้างอาชีพ  1.2 ด้านการให้ความรู้ในการทำธุรกิจ 1.3 ด้านการบริหารจัดการ 2.ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ มีจำนวน 3 ด้าน ดังนี้ 2.1 ด้านการส่งเสริมการสร้างอาชีพ 2.2 ด้านการให้ความรู้ในการทำธุรกิจ 2.3 ด้านการบริหารจัดการ 3.รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับสมบูรณ์ มี 3 ส่วน ประกอบด้วย 1.ขอบข่ายการพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุขอบข่ายภารกิจที่หน่วยที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการ 2.องค์ประกอบของรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ 3. กระบวนการของรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ

References

กุศล สุนทรธาดา. (2553). การศึกษาเพื่อหารูปแบบการส่งเสริมการมีงานทำแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. จาก http://www.thaitgri.org/

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลา.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์และคณะ.(2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารในจังหวัดสงขลา.Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 11(4), 42-51.

พรศิริ กองนวล และคณะ. (2559). การศึกษากระบวนการเรียนรู้กลุ่มผู้สูงอายุและการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ.รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี.

ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวชิญ์.(2559).รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาวดี ทะไกรราช.(2558). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (2015): มกราคม-มิถุนายน.

สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (2557). รายงานการตรวจสอบการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.). กรุงเทพ ฯ : สำนักงานปลัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อุบล วุฒิพรโสภณ และคณะ. (2560). การพัฒนานโยบายและศักยภาพขององค์กรชุมชนในการ เสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม* วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2561) 61-72

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-12-2021

How to Cite