การศึกษาเชิงวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลจากนวนิยาย เรื่อง “เทวากับซาตาน”

ผู้แต่ง

  • ณฐกร ผลเอกประดิษฐ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • นครเทพ ทิพยศุภราษฎร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การปรับบทแปล, กลวิธีการแปล, นวนิยาย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการปรับบทแปลและกลวิธีการแปลในนวนิยายเรื่อง “เทวากับซาตาน” บทแปลภาษาไทยโดย Oradee Suwankomol (2004). จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เรื่อง “Angels and Demons” ประพันธ์โดย แดน บราวน์ (2543) โดยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผู้วิจัย นำหลักเกณฑ์ในการปรับบทแปลของ Sanchawi Saibua (2017) และ Mona Baker (1992) มาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ จำนวน 20 ตัวอย่าง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับด้วยกัน คือ การปรับระดับคำ และการปรับระดับโครงสร้างของภาษา ซึ่งในระดับคำมีทั้งหมด 6 ประเภทคือ 1) การเติมคำอธิบาย 2) การใช้วลีหรือประโยคแทนคำ 3) การใช้คำที่อ้างอิงถึงความหมายที่กว้างขึ้นแทนคำที่อ้างอิงถึงสิ่งที่เฉพาะกว่า 4) การเติมตัวเชื่อมระหว่างกลุ่มความคิดต่าง ๆ 5) การตัดคำหรือสำนวนทิ้งไป และ 6) การใช้สิ่งทดแทนทางวัฒนธรรม ส่วนการปรับระดับโครงสร้างของภาษามีทั้งหมด 3 ประเภท คือ 1) ระดับเสียง 2) ระดับโครงสร้างของคำ และ 3) ระดับประโยค สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 วิธี คือ (การปรับระเบียบวิธีเรียงคำในประโยคหรือวลี การเปลี่ยนประโยคเป็นวลีหรือวลีเป็นประโยค การปรับการใช้ปฏิเสธ และการเพิ่มและละคำในประโยค) จากผลการศึกษาพบว่า การปรับบทแปลระดับคำที่พบมากที่สุด คือ การใช้วลีหรือประโยคแทนคำ รองลงมา คือ การใช้คำหรือสำนวนที่มีความหมายใกล้เคียงกันตามวัฒนธรรมภาษาฉบับแปล ส่วนการปรับบทแปลระดับโครงสร้างของภาษาที่พบมากที่สุด คือ การเพิ่มและละคำในประโยค รองลงมา คือ ระดับโครงสร้างของคำ นอกจากนี้กลวิธีการแปลส่วนใหญ่จะมีลักษณะการแปลแบบตรงตัวเพื่อรักษารูปแบบของการถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับไว้ในฉบับแปลให้ได้มากที่สุด

References

Anantawong, S., Tipayasuparat, N., Nimmannit, S., & Wongkittiporn, A. (2021). An Analysis of Translation Editing and Translation Techniques of the Novel “IT” Translated Version by Suwith Khawplod. Kasalongkham Research Journal, 15(2), (pp. 39-50).

Aupakitsillapasran, P. (2022). Principle of Thai Language. (11th Ed.). Thai Watana Panich Press.

Baker, M. (1992). In Other Words (3rd Ed.). Routledge Press.

Brown, D. (2000). Angels and Demons (1st Ed.). Pocket Books Press.

Brown, D. (2000). Angels and Demons [เทวากับซาตาน] (1st Ed.). Praew Press.

Denoun, E. (2010). Translation and Culture. Completetranslation.

http://www.completetranslation.com/culture.htm

Hornby, A., Bradbery, J., & Deuter, M. (2015). Oxford Advanced Learner’s Dictionary of English

(9th Ed.). Oxford University Press.

Jantarakhet, C. (1985). Translation for Communication (1st Ed.). Thai Watana Panich Press.

Laisatruklai, A. (2015). English Short Stories and Novels Translation (2nd Ed.). Ramkhamhaeng

University Press.

Saibua, S. (2017). Principles of Translation (9th Ed.). Thammasat University Press.

Sangchanthip, C., Tipayasuparat, N., & Srinopparat, S. (2017). An Analytical Study of

Translation Editing and Translation Process of the Autobiographical Literature “A

Street Cat Named Bob”. The 12th RSU National Graduate Research, 12(12), (pp. 950-959).

Supol, D. (2002). Theory and Strategies of Translation (5th Ed.). Chulalongkorn University Press.

Yanwaree, P. (2014). Maekmais Technique in Translating Children Literature Otherwise Known as Sheila the Great and Superfudge. [Master’s Thesis]. Thai Thesis Database. http://www.thaithesis.org/index.php

Youngrak, P. (2014). An Analytical Study of Translation Editing and Transition Process of the

Children’s Literature “Charlie and the Great Glass Elevator”. National Research

Conference 2014. Independence Study of Master of Arts in Graduate School in

English for Profession of Rangsit University.

วารสารการวิจัยกาสะลองคำ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2566

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023

How to Cite