การประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหว สำหรับเยาวชนและประชาชน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ประเมินการใช้หลักสูตร, ภัยพิบัติแผ่นดินไหว, เยาวชน, ประชาชน, จังหวัดเชียงรายบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับเยาวชน จังหวัดเชียงราย 2) ประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับประชาชน จังหวัดเชียงราย การศึกษาวิจัย มี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับเยาวชน จังหวัดเชียงราย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มทดลองใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับเยาวชน คือ เยาวชนใน 11 อำเภอ จังหวัดเชียงราย จำนวน 563 คน กลุ่มผู้ประเมินการใช้หลักสูตร คือ เยาวชน จำนวน 563 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ส่วนที่ 2 การประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับประชาชน จังหวัดเชียงราย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มทดลองใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับประชาชน คือ ประชาชนใน 5 อำเภอ จังหวัดเชียงราย จำนวน 199 คน และกลุ่มผู้ประเมินการใช้หลักสูตร คือ ประชาชน จำนวน 199 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย มีดังนี้
1. ผลประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับเยาวชน จังหวัดเชียงราย พบว่า
1.1 ด้านองค์ประกอบของหลักสูตร พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตร มี 9 องค์ประกอบ มีความครอบคลุม เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของจังหวัดเชียงราย
1.2 ด้านกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ พบว่า มีการผสมผสานบูรณาการความรู้กับ การนำไปสู่การใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ มีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติ
1.3 ด้านผลการใช้หลักสูตร เยาวชนมีคะแนนทดสอบความรู้หลังใช้หลักสูตรสูงขึ้น มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมหลักสูตร โดยรวมในระดับมาก และจากการสังเกตและสัมภาษณ์ พบว่า เยาวชนมีความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ
2. ผลประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวสำหรับประชาชน จังหวัดเชียงราย พบว่า
2.1 ด้านองค์ประกอบของหลักสูตร พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตร มี 9 องค์ประกอบ มีความครอบคลุม และมีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของจังหวัดเชียงราย และการนำไปใช้ประโยชน์ ในการดำรงชีวิตของประชาชน
2.2 ด้านกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ พบว่า มีบูรณาการความรู้กับประสบการณ์ตรง มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นการใช้ประสบการณ์ตรงและบูรณาการความรู้สู่การนำไปใช้
2.3 ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมหลักสูตร โดยรวมในระดับเห็นด้วยมาก และ ในการสังเกตการปฏิบัติตนในการฝึกซ้อมอพยพ ก่อนการฝึกซ้อมประชาชนบางส่วน ยังมีความเข้าใจ ในการเอาตัวรอดที่คลาดเคลื่อน ส่วนประเด็นที่ประชาชนสนใจคือ การสร้างบ้านเรือนที่ปลอดภัย เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
References
Bellanca, J. & Brandt, R. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, IN: Solution Tree.
Department of Mineral Resources. (2019). Powerful Fault Map in Thailand. https://www.dmr.go.th
Federal Emergency Management Agency. (2006). Principles of emergency management.
http://www.rn.org/courses/coursematerial-80.pdf.
Jantakoon, J. (2015). Disaster Education: Learning Approach to Disaster
Preparedness Activities (Part1). Journal of Education Naresuan University,
(4), 188-201.
Jitchayawanit, K. (2020). Learning management. (2th ed.). Bangkok: Chulalongkorn
University Press.
Meteorological Department. (2016). Report of an Earthquake in Chiang Rai Province.
http://www.earthquake.tmd.go.th/documents/file/seismo-doc-1404703458.pdf.
Panyaprouks et al. (2022). The Development of Curriculum on Earthquakes for Youth and
People, Chiangrai (Research Report). Chiang Rai: Chiang Rai Rajabhat University.
Patphol, M. (2013). Assessment of Curriculum for Learning and Development (2th ed.).
Bangkok: Charansanitwong Printing.
________. (2018). Assessment of Curriculum for Learning and Development (4th ed.).
Bangkok: Charansanitwong Printing.
________. (2019). The main concept of curriculum development. Bangkok: Innovative Leaders
Center of Curriculum and Learning.
Pretty, J. N., Guijt, I., Scoones ,I. & Thompson, J. (1995). A Trainer’s Guide for Participatory
Learning and Action. London: IIED.
Thatthog, K. (2016). Principles of learning management. Nakhon Pathom: Phetkasem Printing
Group.
Thumthong, B. (2010). Curriculum Development. Bangkok: Chulalongkorn University.
_________. (2011). Curriculum Development. (3th ed.). Bangkok: Chulalongkorn
University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.