จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

          วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการจัดพิมพ์และเผยแพร่โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ในด้านบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสตร์ ทั้งผลงานวิชาการและผลงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อันแสดงให้เห็นถึงคุณภาพการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย และการอ้างอิง ดังนั้น ในฐานะของวารสารวิชาการและวิจัยที่มีหน้าที่ในการนำเสนอองค์ความรู้ทางวิชาการที่เป็นประโยชน์และตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมทางวิชาการ
          กองบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับ ดูแล และควบคุม ให้การดำเนินงานของวารสารมีความถูกต้องตามหลักจริยธรรมและจรรยายบรรณทางวิชาการของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเป็นไปตามประกาศของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) เรื่องการประเมินด้านจริยธรรม/จรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI กองบรรณาธิการจึงได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ในเชิงจริยธรรม สำหรับผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิชาการหรือบทความวิจัยออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการวารสาร (Editor) และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กลุ่ม ได้ศึกษา ทำความเข้าใจบทบาทและหน้าที่ในเชิงจริยธรรม และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

  1. การจัดทำรูปแบบต้นฉบับของบทความและนำบทความเข้าสู่ระบบนั้น ให้เป็นไปตามที่วารสารฯ กำหนด และถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ที่ต้องทราบและดำเนินการก่อนเข้าสู่ระบบการ submission
  2. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาขอรับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร NEUARJ นั้น ต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
  3. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาขอรับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร NEUARJ นั้น ต้องไม่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  4. ผู้นิพนธ์ต้องไม่ละเมิด หรือคัดลอกผลงานผู้อื่น ตลอดจนการคัดลอกหรือทำซ้ำผลงานตนเอง (Plagiarism) ซึ่งถือเป็นการละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการ
  5. ผู้นิพนธ์ต้องจัดทำเอกสารอ้างอิงและรายการอ้างอิงทั้งหมดที่ปรากฎในบทความ เมื่อมีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่น การนำข้อความใด ๆ มาใช้ในผลงานของตนเอง ทั้งในส่วนเนื้อหาและรายการอ้างอิงท้ายบทความ จะต้องทำการตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของรายการ ตรวจสอบรูปแบบการอ้างอิงตามรูปแบบที่กำหนดโดยวารสาร
  6. ผู้นิพนธ์ต้องไม่นำรายการอ้างอิงใดๆ ที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้มีการศึกษาหรือทบทวนมาจริง นำมาอ้างอิงในบทความ
  7. ผู้นิพนธ์ทุกคนที่ปรากฏรายชื่อในบทความ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้บทความที่ถูกเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์
  8. ผู้นิพนธ์ต้องพิจารณาแก้ไขบทความตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือหนังสือชี้แจ้งเหตุผลที่ผู้นิพนธ์ไม่สามารถแก้ไขบทความตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
  9. หากเกิดการฟ้องร้องหรือการดำเนินคดีทางกฎหมาย อันเป็นผลมาจากบทความของผู้นิพนธ์ ในกรณีนี้ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน โดยที่วารสารไม่ได้รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำใด ๆ ของผู้นิพนธ์

บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Duties of Reviewer)

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณา แก่บุคคลอื่นไม่ว่ากรณีใด ๆ
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความที่ได้รับจากบรรณาธิการวารสาร หากตนเองเป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย เป็นประธานสอบวิทยานิพนธ์ เป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้นิพนธ์ หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ขาดความอิสระในการให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะตัดสินบทความ
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความ เพื่อให้คุณภาพในการพิจารณาและประเมินคุณภาพบทความมีความถูกต้องทางวิชาการและมีความน่าเชื่อถือ
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ไม่ควรนำความคิดเห็นส่วนตัวที่ปราศจากข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินพิจารณาบทความ
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องพิจารณาบทความภายใต้กรอบระยะเวลาที่ทางกองบรรณาธิการได้กำหนดและแจ้งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความทราบอย่างเคร่งครัด หากผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อจำกัดทางด้านเวลาหรือข้อจำกัดอื่นในการพิจารณาบทความนั้น ๆ จะต้องรีบแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที เพื่อพิจารณาหาผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นมาพิจารณาบทความนั้นแทน

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editor)

  1. บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแล และควบคุมการดำเนินงานของวารสาร การตรวจสอบความถูกต้องของบทความ การตรวจสอบการอ้างอิง การจัดการระบบ การตรวจสอบการส่งบทความ และการเผยแพร่บทความให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของวารสารที่กำหนดไว้
  2. บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแล และควบคุมการดำเนินงานของวารสาร ให้มีความถูกต้องตามหลักจริยธรรมและจรรยายบรรณทางวิชาการของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
  3. บรรณาธิการควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยและความโปร่งใสในกระบวนการตีพิมพ์ โดยการสื่อสารและสร้างความเข้าใจกับผู้เขียนและผู้อ่านเกี่ยวกับขั้นตอนและเงื่อนไขการตีพิมพ์
  4. บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการของบทความ
  5. บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism)
  6. บรรณาธิการต้องดำเนินการกับบทความที่ตรวจพบการตีพิมพ์ซ้ำ (duplications) มีข้อมูลการวิจัยซ้าซ้อน (similarities) โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่มีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง
  7. พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในด้านที่เกี่ยวข้อง (peer reviewers) และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบทความ เพื่อทำหน้าที่ประเมินพิจารณาบทความตามเกณฑ์คุณภาพบทความภายใต้กรอบระยะเวลาที่ทางกองบรรณาธิการได้กำหนด
  8. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ ให้แก่ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งวารสารได้กำหนดในลักษณะการพิจารณาบทความแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double blind peer-reviewed)
  9. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์เผยแพร่บทความของตนเองเป็นจำนวนมาก