การพัฒนากำลังคนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

Main Article Content

เฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้

บทคัดย่อ

การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามประเทศที่มีรายได้ปานกลาง มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศที่มีความเจริญ มีการสำรวจและรายงานของ World Economic Forum ในปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นอันดับที่ 37 จาก 148 ประเทศ และเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 ด้านการส่งเสริมการวิจัยพัฒนา มีเพียงร้อยละ 0.28 ของรายได้ประเทศ เทียบกับประเทศอาเซียน เช่น มาเลเซียร้อยละ 1 เกาหลีร้อยละ 3.7 และเกาหลีมีนักวิจัยพัฒนา 7000 คนต่อประชากรหนึ่งล้านคน (World Economic Forum, 2013) จากการสำรวจ สำนักงานสถิติแห่งชาติว่าด้วยสถานการณ์แรงงานไทย แรงงานส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพที่มีทักษะต่ำ และเป็นส่วนใหญ่ที่สุดที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 3 กลุ่มรองลงมาอาชีพบริการร้อยละ 20 งานช่างฝีมือร้อยละ 12 การควบคุมเครื่องจักรร้อยละ 11 มีเพียงร้อยละ 13 ที่ทำงานใช้ทักษะสูง ซึ่งประกอบด้วย ช่างเทคนิค วิศวกร และนักเทคโนโลยี จากการสำรวจยังพบว่ามีการขยายตัวตำแหน่งงานที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงเพิ่มขึ้น จากข้อมูลปี พ.ศ. 2557 มีผู้เรียนระดับ ปวส. เข้าเรียนช่างอุตสาหกรรมร้อยละ 46 และเรียนสาขาอื่นๆ อีกร้อยละ 47 ผู้ที่จบ ปวส. ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีร้อยละ 47 ผู้ที่จบ ปวส. ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีร้อยละ 23 ในจำนวนนี้ศึกษาต่อปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ ซึ่งไม่ตรงกับสาขาที่เรียนในระดับ ปวส. (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2556) ยังมีตัวชี้วัดต่อศักยภาพการแข่งขัน กล่าวคือ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อพิจารณาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผลิตภัณฑ์มวลรวม เมื่อปี พ.ศ. 2556 ผลการสำรวจโดย World Bank ประเทศอินโดนีเซียมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 5.8 ประเทศมาเลเซียร้อยละ 4.7 และที่ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตเพียงร้อยละ 1.8 ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลมากที่สุดก็คือ กำลังแรงงานคุณภาพ ทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนาจากระบบการศึกษานั่นเอง การที่ประเทศในอาเซียนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์สูงยังมีตัวเลขที่สำคัญ คือ สัดส่วนกำลังแรงงาน (Labor Force Participate) ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเวียดนามร้อยละ 78 ประเทศพม่าร้อยละ 79 ประเทศที่เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างเข้มแข็งและก้าวหน้านั้นย่อมต้องพึ่งพาประชากรในวัยแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุ 15-24 ปี ทั้งชายและหญิง กลุ่มวัยนี้กำลังศึกษาและเข้าสู่ตลาดแรงงานย่อมส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขันทั้งสิ้น

Article Details

บท
บทความพิเศษ

References

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2555). นโยบายเป้าหมายยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่สากล พ.ศ. 2555 – 2569. กรุงเทพมหานคร.

ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และคณะ. (2549). การศึกษาความต้องการกำลังคนระดับอุดมศึกษา เพื่อการตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. วารสารพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 16(1).

เรวดี นามทองดี. (2558). การอาชีวศึกษากับการพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในการเป็นประชาคมอาเซียน. วารสารสังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2).

สภาการศึกษา. (2553). การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). การศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม. รายงานฉบับสมบูรณ์ TDRI.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). การสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากร. กรุงเทพมหานคร.

World Economic Forum. (2013). The Global Competitiveness Report 2013–2014. Retrieve from https://www3.weforum.org. Retrieved on January, 2019.