การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน 2)เพื่อเปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จำแนกตามเพศและขนาดของสถานศึกษาและ 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความตรงเชิงเนื้อหาที่มีค่าตั้งแต่ 0.66-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.922 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test (Independent) และ F-test แบบ(One way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบสภาพการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จำแนกตามเพศ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน พบว่า 3.1)โครงสร้างการได้รับอำนาจในองค์กรด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยครูควรได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติตน การตัดสินใจรวมถึงการได้รับข้อมูลย้อนกลับมาพัฒนางานได้ดียิ่งขึ้น 3.2) โครงสร้างการได้รับโอกาสในองค์กร ด้านการได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูง โดยผู้บริหารควรสร้างความหวังให้ครูมีความรู้สึกว่าตนได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
Article Details
References
จันทร์ลอย เครือเข้า, (2553). ผู้บริหารกับการเลสริมสร้างพลังอ่านาจตามการรับรู้ของครูไนโรงเรียนประถมคึกษา ลังกัดสำนักงานการประถมคึกษาจังหวัดราชบุรี กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พูลพันธุ์ ด้วงสวัสดิ (2553). คุณภาพซีวิตการทำงานของครูโรงเรียนเอกชน ในเขตพนที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สมชาย บุญติริเกลัช. (2555). การศึกษาการเสริมสร้างพลังอานาจการทำงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 8. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
สรายุทธ ช่างงาม. (2559). การเลริมสร้างพลังอานาจครู ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2560) รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพี้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1. วิทยานิพนธ์ปรัชญาคุษฎีบัณทิต, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
Kanter RM. (1977) 1Men and Women of the Corporation. 1st ed. New York.Basic Books อ้างถึงใน Laschinger, H.K.S. 1996 A Theoretical Approach to Studying Work Empowerment in Nursing, A Review of Studies Testing Kanter's Theory of Structural Power in Organization. Journal of Nursing Administration. 20 9 (March 1996): 26-28.
Yamane, T.(1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper and Row.