การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

Main Article Content

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา
สงกรานต์ จันทะปัสสา
นงลักษณ์ พิมพ์ศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บรรยากาศ ตามเกณฑ์  80 / 80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและ หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ และ 4) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 15 (บ้านม่วงเฒ่า) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน ผลการวิจัยเป็นดังนี้ (1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ มีค่าเป็น 84.10 / 84.08; (2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์มีค่าเท่ากับ 0.6044 (หรือ 60.44%); (3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นฟื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

จำนงค์ พรมคำบุตร. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบเทคนิคกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง กาฬสินธุ์ทองถิ่นของเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กาฬสินธุ์ : โรงเรียนค้อราษฎร์บำรุงวิทยา.

จันทรา วิเศษกุล, จารุวรรณ เตชะสุทธิรัฐ และ ศุภลักษณ์ กล่าเพ็ชร. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง รักษ์ท่าจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จริยา ขุนเศรษฐ์. (2551) ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับแผนภูมิมโนทัศน์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียน ชั้นมัฮยมศึกษาปี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาติชาย แป็นโพธิ์ ทูลใจ ศรีพรหม และ อดุลย์ ยิ่งธนาทร. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาคั้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิศนา แขมณี. (2551) ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประลิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา (E1/E2).วารสารการวัดผลการศึกษา. 7(4), 46-56.

เผชิญ กิจระการ และ สมนึก ภัททิยธนี. (2545). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสื่อและเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา (E1 /E2). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1(1), 44 -46.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.

วรฉัตร มลธุรัช. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตสัมพันธ์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วลัยพร ก้อนจันทร์หอม (2551). การพัฒนาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือจิ๊กซอว์ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วนิดา ชมหูพงษ์.(2556). การใช้ชุดการเรียนแบร่วมมือด้วยเทคนิดจี๊กซอว์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของฝักเรียนชั้นมัสขมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาสัยศิลปากร.

สุวิทย์ มูลดำ. และ อรทัย มูลคำ. (2551). กลยุทธ์การสอนคิดแก้ปีญหา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สิริกิติ์ จันสามารถ. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอร์ เรื่อง สมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิริรัตน์ บุตรสิงห์. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบในการเรียนวิชา สุขศึกษา ของนักเรี่ยนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือด้วยวิรีจิกซอว์กับภารสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2546). การดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

อัจฉรา เพชรอ่อน. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของพืชและสัตว์ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาคันคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.