องค์ประกอบเชิงยืนยันกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

Main Article Content

ศิรินทร เลียงจินดาถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัถตุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม และตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของโมเดลโครงสร้าง ประชาชนที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม จำนวน 1,133 คน และศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.9503 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


            ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านองค์กร ด้านพนักงาน ด้านรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบสมการโครงสร้าง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าความกลมกลืนผ่านเกณฑ์การยอมรับ คือ GFI =0.964 AGFI =0.915 CFI=0.994 RMSEA=0.043 Chi-square=139.362 df=81 CMIN/df=1.721 p-value=0.05 โดยเรียงค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม(0.88)ด้านพนักงาน(0.87)ด้านองค์กร(0.81)และด้านรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(0.85)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2559). ข้อมูลบุคลากร พ.ศ. 2559. เข้าถึงจาก www.rmu.ac.th/บุคลากร

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. (2560). แผนบริหารความเสี่ยงประจำปี พ.ศ. 2560. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฎสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2554 – 2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2552). สรุปสาระการประชุมวิชาการเรื่อง การพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยบนเส้นทางมหาวิทยาลัยกับความรับผิดชอบต่อสังคม University Social Responsibility, USR ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม-1สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนขัน กรุงเทพฯ.

Altbach, P. G.; Reisberg, L. and Rumbley, L. E. (2009). Trends in Global Higher Education:Tracking an Academic Revolution. A Rep0rt Prepared for the UNESCO 2009 WorldConference on Higher Education. United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization, France

Carroll, A. B. (1979). A Three Dimensional Conceptual Model of Corporate Performance. Academy of Management Review, 4(4), 497-505

Carroll A B.(1991). The pyramid of corporate social responsibiliry: Toward the Toward management of organization stakeholders. Business Horizons, 34, 39-48.

Chen, C.H. (2011), The major components of corporate Social responsibility. Journal of Global Responsibility, 2, 85-99.

Clarkson, M.B.E. (1995). A Stakeholder Framework for Analysing and Evaluating Corporate Social Performance. Academy of Management Review, 20 (1), 92-118.

Donaldson, T and Preston, LE (1995) The Stakeholder Theory of the Corporation: ConceptเS, Evidence, and Implications. Academy of Management, 20(1), 6591-.

Eccles, R.G, lounnou, l., Serafeim, G. (2011). The Impact of a Corporate Culture of Sustainability on Corporate Behavior and Performance. Boston: Harvard Business School.

Freeman, R. E. (1984). Strategic Management: A Stakeholder Approach. Pitman: Boston.

Freeman, R. E. Wicks, A. C. and Parma, B. (2006). Stakeholder Theory and "The Corporate Objective Revisited" Organization Science, 15(3), 364-369.

Graafland, J.J., Van de Ven, B. and Stoffele, N. (2003). Strategies and Instruments for Organizing CSR by Small and Large Businesses in the Netherlands. Journal of Business Ethics, 47(1), 45-54.

Hair, J.F., Black W.C., Babin B. J. and Anderson R.E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Jones, T.M. (1995). Instrumental Stakeholder Theory: A Synthesis of Ethics and Economics. Academy of Management Review. 20(2), 404-442.

Kentabutra, Sl, Avery, G., (2013). Sustainable leadership; honeybee practice at a leading Asian industrial conglomerate. Asia-Pacific Journal of Business Administration, 5(1), 36-56.

Liengjindathaworn, S. (2012). Strategic SCR for Thai Multinational Corporate in ASEAN. GMSARN International Journal, 6(3), 79-86.

Porter, M.E., and Kramer M.R. (2006). Strategy and society: The Link Between Competitive Advantage of Corporate Philanthropy. Harvard Business Review, Dec 2006, 1-14.

______. (2011). Creating Shared Value. Harvard Business Review, (Jan-Feb), 1-17.

Sweeney, L. (2007). Corporate social responsibility in lreland: barriers and opportunities experienced by SMEs when undertaking CSR, Corporate Governance, 7(4), 516-523.

Tongkachok, T. and Chaikeaw, A. (2012). Corporate Social Responsibility: The Empirical Study of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand. International Journal of Business and Social Science, 3(21), 115-112.

Virakul, B., Koonmee, K., & McLean, G. N. (2009). CSR activities in award-winning Thai companies. Social Responsibility Journal, 5(2), 178-199.

Waddock, S., Bodwell, C, and Graves, S.B. (2002). Responsibility: the new business imperative. Academy of Management Executive, 16(2), 132-148.

Wernerfelt, B. (2007). The Resource-Based View of the Firm: Ten Years After. Strategic Management Journal, 16(3), 171-174.