คุณลักษณะของบัญชีบัณฑิตที่พีงประสงค์สำหรับสถานประกอบการในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

มณีวรรณ ศรีปาน
ภาคิน อนันตโสภณ
รัชนี ศิริประพิมพ์
วนิดา ณ ลำพูน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทของสถานประกอบการ 2) ศึกษาบัญชีบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาที่สถานประกอบการ รับเข้าทำงาน และ 3) ศึกษาคุณลักษณะของบัญชีบัณฑิตที่พึงประสงค์สำหรับสถานประกลอบการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการ จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมันเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานประกอบการ มี 5 ประเภท คือ สถานประกอบการของรัฐบาล รัอยละ 26.32 รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 26.32 เอกชน-ธุรกิจบริการ ร้อยละ 15.79 เอกชน-ธุรกิจพาณิชย์ ร้อยละ 15.79 และเอกชน-ธุรกิจอุตสาหกรรม ร้อยละ 15.79 ตามลาดับ 2) บัญชีบัณฑิตที่สถานประกอบการรับเข้าทำงานมาจากมหาวิทยาลัยของรัฐ ร้อยละ 32.16 มหาวิทยาลัยราชภัฎ  ร้อยละ 22.54 มหาวิทยาลัยเอกชน  ร้อยละ 20.42 วิทยาลัยเอกชน  ร้อยละ 16.67 และมหาวิทยาลัยราชมงคล รัอยละ 8.22 ตามลำดับ และ3) คุณลักษณะของบัญชีบัณฑิตที่พึงประสงค์สำหรับสถานประกอบการโดยรวมและรายด้านมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีความสำคัญสูงสุด คือ ด้านค่านิยม ทัศนคติ และจรรยาบรรณวิชาชีพ รองลงมาคือ ด้านความรู้ทางวิชาชีพและด้านทักษะทางวิชาชีพ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2553). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2553. ค้นเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2561 จาก http://www.mua.go.th/uSer3/pdf. hed/.

กาญจนา มงคลนิพันธ์และนิตยา มณีนาค. (2559) คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. นครปฐม : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

จีระศักดิ ขัดสงคราม, (2557), คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจากมุมมองของผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่, การศึกษาค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จรัส สุวรรณเวลา. (2545). อุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ . สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีสำคัญอย่างไร. (ออนไลน์) ค้นเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2561, จาก https:/www.amtau-Dlt.com/view_ne\ws.php?id=30.

ทำเนียบหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐ (2561). จำนวนสถานประกอบการหน่วยงานภาครัฐ (ออนไลน์), ค้นเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2561. จาก https://www.udonthani.go.th.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น..

วิทยาลัยพิชญบัญฑิต (2560). หลักสูตรบัญชีบัญฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560). อุดรธานี วิทยาลัยพิชญบัญฑิต.

สมนีก เอื้อจิราพงษ์พันธ์ (2551). การบัญชีต้นทุน 1. กรุงเทพฯ : แมคกรอ-.ฮิล.

สภาวิชาชีพในพระบรมราชูปถัมภ์ (2555). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับที่ 3 เรื่องทักษะทางวิชาชีพ. (ออนไลน์) ค้นเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2561 . จาก https:// www.digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/fites/.

สมบูรณ์ กุมาร. (2557). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พีงประสงค์ของสถานประกอบการ ในจังหวัดน่าน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษย์ศาสตร์). 6(12) 122.

สุขญา รังสฤษติกุลและคณะ. (2557) คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีที่ตอบสนองตลาดแรงงานในสถานประกอบการ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุดรธานี (2561). จำนวนสถานประกอบการภาคเอกชน. (ออนไลน์, สืบค้น เมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2561. จาก https://www.dbd go.th.

International Federation for Accountants (2009) Framework for International Education Standards for Professional Accountants. Retrieved 20 November 2015, from http://
www.ifac.org/sites/default/files/meetings/files/5046.pdf.

Verschoor, Curtis C. (2009). Integrity Still Lacking in U.S. Business (Online). Retrieved 13 December 2015, from http://wwww.imanet,org/pdf/ july96202009.pdf.