ความสัมพันธ์ของปัจจัยนที่ส่งผลต่อความพีงพอใจ ของผู้ใช้สิทธิประโยชน์ดีแทค รีวอร์ด ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิราภรณ์ งามพิทักษ์กุล
เสาวลักษณ์ กู้เจริญประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสิทธิประโยชน์ดีแทค รีวอร์ด ในกรุงเทพมหานคร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากผู้ใช้บริการสิทธิประโยชน์ดีแทครีวอร์ด จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21-30 ปีสถานภาพโสดอาชีพพนักงานเอกชน ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลียต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ระยะเวลาการใช้บริการเครือข่ายดีแทค 4-10 ปี อัตราค่าใช้บริการ 300-799 บาทต่อเดือน ระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน จากการศึกษาระดับความพึงพอใจ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบว่าเพศ อายุ สถานสภาพสมรส อาชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทุกด้านยกเว้นด้านราคา และจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความพึงพอใจพบว่าอายุ สถานภาพสมรส การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในทุกด้าน

Article Details

How to Cite
งามพิทักษ์กุล จ., & กู้เจริญประสิทธิ์ เ. (2018). ความสัมพันธ์ของปัจจัยนที่ส่งผลต่อความพีงพอใจ ของผู้ใช้สิทธิประโยชน์ดีแทค รีวอร์ด ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(1), 80–96. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/201402
บท
บทความวิจัย

References

กิติพงศ์ ศรีทอง. (2556), ความพึงพอใจของลูกค้า ในกรุงเทพและปริมณฑลต่อการให้บริการ 3s ของDTAC การศึกษาค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐดนัย ศรีสุขค่า. (2549), ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเซเรเนด คลับ ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษา ค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด(มหาชน); สรุปผลการดาเนินงานในไตรมาส 4/2560 ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์) แบบ 56-1, 2560(1), 10-15

พัชรินทร์ ตันติพิทักษ์กุล. (2549) . ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ พฤติกรรมเและความพีงพอใจ ในการใช้บริการร้านค้าของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. จุหาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2560). ตลาดค้าปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ (ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์). รายงานสภาพตลาดโทรคมนาคม.ประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2560, 2560(1), 5-6

Kotler, P. (2003). Marketing management. New Jersey: Prentice-Hall.

Parasuraman, A., Zeithamal, V. A., & Berry, L. L. (1991). Understanding measuring and Improving service quality finding from a multiphase research program. Massachusette, MA: Lexington.