การเลือกใช้สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ : กรณีศึกษาสมการโครงสร้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีความคล้ายคลึงกับการ วิจัยทางสังคมศาสตร์ทั่วไป กล่าวคือในความเป็นจริงจะมีตัวแปรที่มาเกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นจำนวนมากมายหลายตัวแปร โดยเฉพาะการวิจัยเชิงสาเหตุปัจจุบันมีการนำเทคนิคการวิเคราะห์หลายตัวแปรมาใช้ในงานวิจัยอยู่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวนเชิงช้อน (MRA) , Logistic Regression Analysis , Cluster Analysis, Discriminant และผล Analysis และเทคนิคการวิเคราะห์อื่นๆ อีกมาก โดยที่ เทคนิคดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และ เป็นที่นิยมใช้มากสำหรับการวิจัยระดับดุษฎีนิพนธ์หรือการวิจัยของนิสิตระดับปริญญาเอกแต่ก็ยังมีข้อเสีย คือ เทคนิคดังกล่าวสามารถตรวจสอบความสัมพันธ์หรือสาเหตุได้ ครั้งละ 1 ความสัมพันธ์เท่านั้น หรือมีตัวแปรตามได้ครั้งละ 1ตัวแปรเท่านั้น นักวิชาการทางสถิติบางท่านเรียกว่า การดั้งเดิมซึ่งจะต้องวิเคราะห์ตัวแปรทีละคู่ของความสัมพันธ์หรือที่เรียกว่า การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ซึ่งในการวิเคราะห์ทีละคู่ของตัวแปรที่สนใจ จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหรือเศษของการ วิเคราะห์มาก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนาเทคนิคสถิติขันสูงมาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์โดยเฉพาะอย่างยิงคือ การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยตัวแปรแฝง และตัวแปรชี้วัด
Article Details
References
กัลยา วานิขย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. พิมพ์ครั้งที 1.กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์.เอกสารประกอบการเรียนการสอนโรเนียวเย็บเล่ม.
กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2559). วิพากษ์งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น. รายงานประกอบการเรียนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์และสถิติเพื่อการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2558
ธณัฐพล ชะอุ่ม. (2558) ตัวแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณทิต. มหาวิทยาลัยสยาม.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. (2555) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุหาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพชรน้อย สิงห์ช่างขัย (2546) หลักการและการใช้สถิติในการ วิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. สงขลา : จ.เอกสาร.
ยุทธ ไกยวรรณ์ (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ .สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รักเกียรติ หงส์ทอง. (2557), ประสิทธิผลขององค์การกับตัวแบบภาวะผู้น่าเชิงวิสัยทัศน์ ของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎตะวันตก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10 (29) : 71-86
สำราญ มีแจ้ง. (2557). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย ทฤษฎีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาต ประสิทธิรัฐสินธุ์ . (2548). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ หจก. สามลดา.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.