แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเป็ดสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำแนกตามสถานภาพและประสบการณ์ในการทำงานจำนวนทั้งสิ้น 369 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการชีวศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและt-test
ผลการวิจัยพบว่า
- แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาทั้งโดยรวมและรายด้านมีแรงจูงใจในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน รองลงมา คือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ส่วนด้านที่มีแรงจูงใจต่ำสุดคือรายได้และสวัสดิการตามลำดับนอกนั้นอยู่ในระดับมาก
2. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำแนกตามสถานภาพ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการได้รับการยอมรับนับถือและด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์การทำงานโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). มาตรฐานการอาชีวศึกษา.กรุงเทพฯ : สมอ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2555). วิธีการวิจัยทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
ปรียา แย้มชื่นใจ. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมร จรรยาราม (2549) ทรัพยากรบริหาร.ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนา. {ออนไลน์}. ค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558, จาก http://school.obuec.go.th / wachirathamsorpitl business/unit03.htm.
สุวะณี ตีรถะ. (2545) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันราชภัฏนครปฐม.
Alderfer, C.P.. (1972). Existence,Relatedness and Growth. New York : Free Press.
Herzeurg Fredrick and other.(1979). The Motivation to Work.Mauisner. New York : Wiley and Sons.
Maslow, Abraham Uarold. (1970). Motivation and Personality. New York : Harper And Row.
McCalland, D.C.. (1965). The Achieving Society. New York : D. Van Nostrand.