การเพิ่มขีดความสามารถต้านการตลาดของหลักสูตร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเพิ่มขีดความสามารถด้านการตลาดของหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตที่สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา ที่ 259 จำนวน 400 คน การลัมภาษณ์ผู้บริหารในเชิงลีก จำนวน 4 ท่าน พบว่าการสร้างหลักสูตรที่เข้มแข็ง ด้วยการสร้างความร่วมมือกับองค์กรเอกชนและมหาวิทยาลัยชั้นน้าทั้งใน และต่างประเทศ จะส่งเสริมให้หลักสูตรมีความน่าเชื่อถือ สามารถพัฒนาหลักสูตรให้สอด่คล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างแท้จริง เพื่อผลิตคุณภาพอันจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลการวิจัยเชิงสำรวจ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ หรือการ จัดการหลักสูตรมีความสำคัญเป็นอย่างยิงและมีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้จริง นอกจากการจัดการหลักสูตรี่มีมาตรฐานแล้ว ยังพิจารณาถึงชื่อ เสียงของผู้ก่อตังสถาบัน อาจารย์ผู้ลอน ภาพลักษณ์ของ สถาบัน อุปกรณ์การเรียนการสอน ความหลากหลายของสาขาวิชาทีสอน รองลงมา คือ กลยุทธ์ด้านสถานทตังของสถาบันกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การให้ทุนสนับสนุนการศึกษา การให้ผ่อนขาระค่าเล่าเรียนในขณะที่กลยุทธ์ด้านราคา มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่ออยู่ในระดับน้อยที่สุด
Article Details
References
บังอร สัตยวณิช. การวางแผนการสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2539.
วิทวัส รัชตะวรรณ.การศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อสื่อโฆษณาที่ใช้รณรงค์รับสมัครนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2541.
ศิริวรรณ เสริรัตน์. การบริหารการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา, 2539.
ทบวงมหาวิทยาลัย, 2541. รายงานประจำปี 2541, ทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: ไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์.
ทบวงมหาวิทยาลัย, 2541. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทองกวาว.
ประกอบ คุปรัตน์ และคณะ, 2533. โครงการวางแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี (2531-2534) โครงการวิจัยที่ 4.1 บทบาทอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักบริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พาชิตชนัต ศิริพานิช และอุปถัมภ์ สานแสงจันทร์, 2532. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท.วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันย์บริหารศาสตร์.
สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2533. การบริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย กองสถาบันอุดมศึกษา,
สำนักกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2539. รายงานสถิติ/ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2537-2539. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ประกายพรีก.
สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2539. แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544),กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์.
อธิวัฒน์ กาญจนวณิชย์กุล, วนิดา วาดีเจริญ, บัญชา เกิดมณี, 2556, กลยุทธ์การตลาดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย การประชุมระดับชาติเบญจมิตรวิชาการครังที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.