แนวคิดเบื้องต้นการวิจัยทางรัฐประศาสตร์ประยุกต์

Main Article Content

ศุภชัย คล่องขยัน

บทคัดย่อ

แนวคิดเบื้องต้นการวิจัย รัฐประศาสตร์ประยุกต์ The Basic Concept of Advance Public Administration Research เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการบริหารงานภาครัฐ การวิจัยทางรัฐประศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่ช่วยแก้ไข้ปัญหาและตอบคำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานภาครัฐ ขอบเขตของงานภาครัฐนั้นครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในสังคมตั้งแต่ก่อนเกิดจนหลังตาย ครอบคลุมทั้งกิจกรรมของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคลและปฏิสัมพันธ์ที่ปัจเจกบุคคลมีต่อกลุ่มบุคคลและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐจึงหลากหลายและสลับซับซ้อนมีทั้งกิจกรรมที่รัฐดำเนินการเองในรูปแบบของการควบคุม กำกับและดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย การจัดบริการสาธารณะต่าง ๆ เรื่อยไปจนถึงกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับเอกชน งานที่หลากหลายและซับซ้อนทำให้ภาครัฐมีโครงสร้างที่ใหญ่โต มีลำดับการบังคับบัญชาหลายชั้น มีระบบงานที่มากมาย ยิ่งในยุคสหัสวรรษใหม่ การตรวจสอบการทำงานของภาครัฐที่เข้มข้นยิ่งทำให้ภาครัฐมีกติกาใหม่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมีประเด็นถกเถียงอภิปรายต่อเนื่องกะนยาวนานตั้งแต่อดีตกาลว่าทำอย่างไร จึงจะทำให้ภาครัฐทำงานได้ดีที่สุดโครงสร้างระบบ วัฒนธรรมการทำงานของภาครัฐควรเป็นอย่างไร นอกจากนั้นภาครัฐยังถูกวิจารณ์ตลอดเวลาถึงความด้อยประสิทธิภาพโครงการที่ใหญ่โตเทอะทะ ระบบงานที่ไม่ทันสมัย วัฒนธรรมที่ล้าสมยคนของรัฐเองก็ถูกตำหนิว่าเฉื่อยชาไม่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนและข้อหาที่รุนแรงมากที่สุดคือการทุจริตประพฤติมิชอบหรือคอร์รัปชั่นในหมู่ข้าราชการและนักการเมือง ภาครัฐเองตระหนักถึงข้อวิจารณ์ต่าง ๆ และพยายามปรับปรุงตลอดเวลา (ศุภชัย ยาวะประภาษ,2544)


          ปัจจุบันภาครัฐในแทบทุกประเพศพยายามตรวจสอบและประเมินตัวเอง (self-review) เพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น ตราบใดที่ภาครัฐ ตราบนั้นองค์กรภาครัฐคงยังจำเป็นเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของประเทศตราบใดที่ยังมีองค์กรภาครัฐ ตราบนั้นยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นและตราบใดที่มีสิ่งท้าทายที่ต้องทำให้ดีขึ้น ตราบนั้นก็ต้องมีการค้นคว้าหาคำตอบและวิธีการค้นคว้าหาคำตอบที่ได้รับการยอมรับว่าจะนำมาซึ่งคำตอบที่หน้าเชื่อถือได้มากกว่าวิธีอื่น ๆ ก็คือวิธีการหาคำตอบที่อยู่บนพื้นฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific inquiry) ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า “การวิจัย” (research) โจทย์หรือคำถาม ทางรัฐประศาสนศาสตร์มีมากมายแหละหลากหลาย การหาคำตอบสำหรับโจทย์เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยวิธีการวิจัยและนี่คือที่มาของการนำเสนอ แนวคิดเรื่องการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ (ศุภชัย ยาวะประภาษ,2544) แนวคิดเบื้องต้นการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ประยุกต์แบ่งเป็น 11 องค์ประกอบได้แก่ (1) การแสวงหาความรู้ของมนุษย์ (2) กระบวนการแสวงหาความรู้ (3) วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปทัสถานและเชิงวิจัยประจักษ์ (4) ตัวแบบหลักของการวิจัย (5) ที่มาของความรู้ (6) วิธีการแสวงหาความรู้ทางศาสตร์ (7) ความเป็นศาสตร์ (8) ศาสตร์ต้องเป็นสิ่งที่ได้ศึกษาได้ในเชิงปริมาณ (9) ศาสตร์ต้องมีข้อสรุปทั่วไป (10) ประเด็นข้อพิจารณาทางศาสตร์ (11) ทฤษฎีแสวงหาความรู้สำนักประจักษ์นิยม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2551). ภาษากับการเมือง/ความเป็นการเมือง.กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันทวัน สุชาโต. (2537). “การวิจัยสื่อสารมวลชน” เอกสารการสอนชุดวิชา สถิติและการวิจัยสื่อสารมวลชน : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2540). การวิจัยกึ่งทดลองทางพฤติกรรมศาสตร์ : การออกแบบและการวิเคราะห์ ข้อมูล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2544). การวิจัยทางรัฐประศาสตร์. กรุงเทพฯ : ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2540). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลียเชี่ยง.

Alfred Schutz. (1889-1959). Handbook of Phenomenological Aesthetics. Hans Rainer Sepp, L. Embree.

Garfinkel Alan, (1981), Forms of Explanation: Rethinking the Question in Social Theory Rethinking the Questions of Social Theory. Yale University Press.

Edmund Husserl. (1970) The Crisis of European Sciences and Transcendental Phenomenology an Introduction to Phenomenological Philosophy. Northwestern University Press.

Edmund Husserl. (1859-1938). Theory in social and cultural Anthropology: An encyclopedia. Thousand Oaks, CA; Sage Publications. Retrieved from http://search.credoreference.com/content/entry/sagesocuanth/husserl_edmund/0.

Kant, Immanuel. (1724-1804. In H. J. Birx (Ed.), Encyclopedia of time: science, philosophy, theology, and culture. Thousand Oaks, CA : Sage Publications. RetrievedfromHttp://seaech.credoreference.com/content/sagetime/kant_immanuel_1724_1804/0.

Hospers. (1967). An introduction to philosophical analysis. Englewood Cliffs, N.J., Prentice-Hall.