แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลก ในมุมมองของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว

Main Article Content

วันทนีย์ แสนภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลก ในมุมมองของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ผู้วิจัยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการประเมินโครงการตามรูปแบบชิป ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s  CIPP  Model) , การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมขององค์กร (SWOT  Analysis) และการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลก ตามมุมมองของการบริหารจัดการ ดังนี้ ด้านการวางแผน 1. ควรมีการบูรณาการแผนพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและลดงบประมาณที่สิ้นเปลืองในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการส่งเสริม และการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 2. ควรมีการบูรณาการนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน โดยเฉพาะนโยบายตลาดประชารัฐ ซึ่งจะส่งผลดีทั้งด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และการพัฒนาชุมชน 3. ควรมีการทบทวนและปรับแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง 4. ควรมีการสนับสนุน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาจิตใจ การปลูกจิตสำนึก ให้กับประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แนวทางการบริหารจัดการ  ด้านการจัดองค์การ 1. ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ควรมีการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มพัฒนาอาชีพ ผลิตสินค้าและบริการ เพื่อจัดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว เป็นการกระจายรายได้จากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ 3. ควรพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยว 4. ควรทบทวนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการดำเนินงานเชิงรุก 5. ควรมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและพัฒนาให้เป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบและครบวงจร ด้านการปฏิบัติงาน 1. ควรส่งเสริม พัฒนา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท่องเที่ยวอยุธยาเมืองมรดกโลกที่เป็นจุดเด่นทั้งทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทรัพยากรท่องเที่ยวด้านกิจกรรม ทรัพยากรท่องเที่ยวด้านมหกรรมเทศกาลและงานประเพณี และทรัพยากรท่องเที่ยวด้านการบริการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กิจกรรม ประเพณี การบูรณะซ่อมแซม และการดูแลรักษาความสะอาด และความปลอดภัย       3. ควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ งานประเพณี การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมเพื่อความบันเทิง การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น 4. ควรประชาสัมพันธ์เชิงรุกด้านการท่องเที่ยวให้มากขึ้น 5. ควรพัฒนาคุณภาพการให้บริการของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ให้ได้มาตรฐานสากล ด้านการควบคุม 1. ปรับปรุงการจัดระบบการจราจร โดยเฉพาะวันหยุดและช่วงเวลาคับขัน 2. ควรมีการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาสภาพพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวให้มีความสวยงาม เพื่อดึงดูดใจให้น่าท่องเที่ยว 3. ควรจัดระเบียบร้านค้า ชุมชน ให้มีความเหมาะสม และไม่บดบังทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2554). ทรัพยากรการท่องเที่ยว. {ออนไลน์} ค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560, จากhttp://www.highlightthailand.com/th/main/detail_content/
Tourism-Resources/57.html.

จิรานุช โสภา และคณะ. (2554). ศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกของประเทศ ไทย กรณีศึกษา: อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชรและอุทยาน ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ฉัตรแก้ว สิมารักษ์และคณะ. (2549). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่.

ธนภูมิ ปองเสงี่ยม. (2552) .ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวโบราณสถานภายในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การประชุมวิชาการ “Sustainability Tourism Trend in Thailand” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธนภูมิ ปองเสงี่ยม และ วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2558). แผนพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน 6 (2), 95-111.

ไพฑูรย์ พงศะบุตร. (2548). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ที่ 27. พิมพ์ครั้งที่ 3. หน้า 63.กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

วรัฐพร ปัญญาปัน. (2550) การสร้างรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านปางไม้ตะเคียน ตำบลออนเหนือ กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วีรพล จินดามณี. (2550). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในโครงการหลวง : กรณีศึกษาโครงการหลวงดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารร่มไทรทอง. 17 (1), 18-30.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ. 2557-2560). {ออนไลน์} ค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 , จาก http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=4&content_id=2562

อภิรดี ไชยเทพ. (2549). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตป่าอนุรักษ์ : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,.

อมร บุตรเวียงพันธ์. 2548. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อรวลัยภัทร เลิศหิรัญกิจ. (2549). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.