สภาพปัญหาและสมรรถนะบุคคลออทิสติกของกองทัพบก จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สงกรานต์ จันทะปัสสา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสมรรถนะบุคคลออทิสติกของกองทัพบก จังหวัดขอนแก่น ผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย1) กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่ บุคคลออทิสติก12 คน 2) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 28 คน ได้แก่ บุคลากรจากโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น 2 คน โรงเรียนสาธิตมอดินแดงมหาวิทยาลัยขอนแก่น4คน ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกขอนแก่น 4 คน ผู้ปกครองนักเรียนออทิสติก 12 คน ครูฝึกทหาร 6 คน 3) กลุ่มสนทนา 9 คนได้แก่บุคลากรจากโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น 2 คน โรงเรียนสาธิตมอดินแดงมหาวิทยาลัยขอนแก่น1คน ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกขอนแก่น 1 คน ผู้ปกครองนักเรียนออทิสติก 1 คนครูฝึกทหาร 3คนบุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามประเด็นการสนทนากลุ่ม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอเชิงพรรณนา


           ผลการวิจัย


           1.สภาพปัญหาและสมรรถนะบุคคลออทิสติกโดยรวมพบว่า


               1.1 สภาพปัญหาด้านร่างกาย ได้แก่ 1) การเคลื่อนไหว ประกอบด้วย (1) การทรงตัวและการเดิน มีการเคลื่อนไหว การทรงตัวและการเดินที่ช้า หรือเร็วผิดปกติ (2) การเล่นมือเล่นตา มีการเล่นมือเล่นตา และไม่สบสายตาบุคคลอื่น และ (3) การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก มีการเคลื่อนไหวแขนและขาได้ช้าหรือเร็วผิดปกติ   2) พฤติกรรมไม่นิ่ง ประกอบด้วย (1) ความอดทน มีความอดทนน้อยต่อสถานการณ์ต่างๆ (2) สมาธิสั้น มีอาการหงุดหงิดและสมาธิสั้น (3) การเคลื่อนที่  เคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวอย่างไม่มีเป้าหมาย และ3) การรับรู้และประสาทสัมผัส ประกอบด้วย (1) การสบตา หลีกเลี่ยงการสบตากับบุคคลอื่น (2) การตอบสนองต่อเสียง ตอบสนองต่อเสียงใดเสียงหนึ่งมากเกินไป (3) การแสดงปฏิกิริยาท่าทาง แสดงปฏิกิริยาท่าทางต่อความต้องการของตนเองไม่ได้


               2) สภาพปัญหาด้านอารมณ์ได้แก่ 1) การสนองตอบและการปรับอารมณ์ ประกอบด้วย (1) การแสดงออกทางอารมณ์ แสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ (2) การควบคุมอารมณ์ อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปได้เองโดยไม่มีเหตุผล (3) การปรับอารมณ์ ปรับอารมณ์ได้ยาก 2) การควบคุมตนเอง ประกอบด้วย (1) การก้าวร้าว จะแสดงออกในอาการก้าวร้าว (2) ความมีวินัย ควบคุมตนเองได้น้อย 3) ความอดทน มีความอดทนน้อย 3) ความสนใจ ประกอบด้วย (1) ความสนใจในกิจกรรม สนใจกิจกรรมเดิมๆซ้ำซาก (2) การยอมรับในสถานการณ์ มีความคับข้องใจสูงจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน (3) ความมีเหตุผล อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปได้เองโดยไม่มีเหตุผล 


               3) สภาพปัญหาด้านสังคมได้แก่ 1) การปรับตัวต่อผู้อื่น ประกอบด้วย (1) การเล่นรวมกลุ่ม ไม่ชอบเล่นกับบุคคลอื่น (2) การช่วยเหลือผู้อื่นไม่มีการช่วยเหลือผู้อื่น (3) ความมั่นใจในตนเอง มีความมั่นใจในตนเองน้อย 2) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ประกอบด้วย (1) การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ขาดการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น (2) การอยู่ร่วมกับผู้อื่น  ชอบอยู่คนเดียว (3) การมีมนุษยสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์กับใครไม่เป็น 3) การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) การยอมรับการเปลี่ยนแปลง กลัวการเปลี่ยนแปลง  (2) ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม (3) การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ยาก


               4) สภาพปัญหาด้านสติปัญญา ได้แก่ 1) การเล่นและจินตนาการ ประกอบด้วย (1) การจินตนาการ ไม่สามารถจินตนาการได้ (2) การเล่นบทบาทสมมุติ เล่นบทบาทสมมุติไม่เป็น (3) พฤติกรรมการเล่น เล่นหรือกระทำกิจกรรมเดิมๆ ซ้ำซาก 2) การสื่อสารและการพูด ประกอบด้วย (1) การใช้ภาษา ไม่สามารถใช้ภาษาที่เหมาะสมได้ (2) ท่าทางและน้ำเสียงในการพูด ไม่สามารถเข้าใจท่าทางและสีหน้าของผู้อื่นพูด (3) การสื่อสาร ไม่สามารถสื่อสาร ความคิดความรู้สึกและความต้องการของตนเองได้ 3)พฤติกรรมและการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) การทำตามคำสั่ง ไม่สามารถทำตามคำสั่งได้ (2) พฤติกรรมในการเรียนรู้ มีพฤติกรรมซ้ำซาก (3) การย้ำคิดย้ำทำ พูดบ่อย ถามบ่อย และทำในกิจกรรมเดิมๆ


           และแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะบุคคลออทิสติกทั้ง4ด้านได้แก่การสร้างรูปแบบกิจกรรมอาชาบำบัดแบบบูรณาการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ รัตนศรีสุโข. (2557). การศึกษาทักษะการสื่อสารของเด็กออทิสติกโดยใช้กิจกรรมศิลปะบำบัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (จิตวิทยาครูการศึกษาพิเศษ). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กรมการสัตว์ทหารบก. ( 2556). คู่มืออาชาบำบัด : แผนกสัตวบาล กองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2. [Online]http://dmiceplanner.businesseventsthailand.com/dmice/venue-detail.php?m=1171386

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). กลวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิธีเรียน. กรุงเทพ ฯ : กองวิจัยการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลยา ก่อสุวรรณ. (2551). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย = Teaching children with mind disabilities. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ตฤณ กิตติการอำพล. (2558). ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กออทิสติก. วารสารศิลปกรรมบูรพา.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา และ สมจิตร ไกรศรี. (2559). โปรแกรมศิลปกรรมบำบัด .สถาบันราชานุกูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พีเออาร์ด แอนด์ ปริ้นติ้ง.

รัศมี ปิ่นแก้ว (2550). ผลการใช้เบี้ยเศรษฐกิจในการลดพฤติกรรมการลุกจากที่นั่งขณะนั่งเรียนของเด็กออทิสติก. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาพิเศษ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหิศร แสงมณีรัตนชัย. (2548). การศึกษาวิธีการชี้แนะและการเสริมแรงด้วยอาหารเพื่อลดพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งในชั้นเรียนของเด็กออทิสติกชั้นอนุบาลศึกษา. ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนวบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรานิษฐ์ พิชิตยศวัฒน์. (2555). ประสิทธิผลของกิจกรรมดนตรีบําบัดต่อพัฒนาทางการสื่อ ความหมายและปฎิสัมพันธ์ของนักเรียนออทิสติก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้า.

สมศักดิ์ จังตระกุล. (2561). การประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติเปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 12 วันที่ 4-5 เมษายน.61 สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561

สัตวบาล,แผนก. (2552). คู่มืออาชาบำบัด. แผนกสัตวบาล กองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2, กรมการสัตว์ทหารบก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุขิริน เย็นสวัสดิ์. (2548). การศึกษาทักษะการสื่อสารของเด็กออทิสติกโดยใช้ป้ายกระดานสื่อสาร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สารรัตนะ, พัชรี จันทร์เพ็ง ปวีร์ ศิริรักษ์ สิรินันท์ สุรไพฑูรย์ แซ่ผุง.(2553). สภาพปัจจุบัน ความต้องการด้านอาชีพของผู้พิการกรณีศึกษาบุคคลออทิสติก. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยราชสุดา ปีที่ 12 ฉบับที่ 15.

Sams MJ, Fortney EV, Willenbring S. (2006). Occupational therapy incorporating animals for children with autism: A pilot investigation. Am J OccupTher, 60(3) 2006 May-Jun;:268-74.