การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการขยะที่ประสบผลสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ที่ประสบความสำเร็จในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล 12 คน พื้นที่ในการวิจัยเป็นพื้นที่มีปรากฏการณ์เด่นชัด ได้รับรางวัลการบริหารจัดการขยะระดับประเทศมาแล้ว ได้แก่ ชุมชนพื้นที่ขนาดใหญ่ เทศบาลตำบลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ชุมชนพื้นที่ขนาดกลาง เทศบาลตำบลเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และพื้นที่ขนาดเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลกลันทา จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured Interview) แนวทางการสัมภาษณ์ Interview guide) แนวทางการสังเกต (Observation guide) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- การจัดการขยะที่ประสบผลสำเร็จของพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจาก 1) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องมีนโยบายที่ชัดเจน มีการประสานการดำเนินงาน ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม 2) ภาครัฐต้องมีแผนงานและงบประมาณในการจัดกิจกรรมลดปริมาณขยะ มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบ ในการดำเนินงานและสนับสนุนการเรียนรู้ จากพื้นที่ที่ประสบผลสำเร็จ 3) ภาคประชาสังคม ต้องมีการสร้างกฎระเบียบขึ้นใช้ในพื้นที่ เพื่อสร้างความสามัคคี ความมีวินัย และปลูกจิตสำนึกสาธารณะ รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมลดปริมาณขยะ และกิจกรรมสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ ตามหลัก “บวร” เช่น กิจกรรมผ้าป่าขยะ ตะแกรงบุญ ถุงพลาสติกแลกไข่ ขยะพิษแลกแต้ม ประกวดหน้าบ้านน่ามอง กิจกรรมกองทุนประกันชีวิต ฌาปณกิจจากขยะ กองทุนถุงพลาสติก กองทุนออม และธนาคารขยะ
- การจัดการขยะ Recycle เมื่อก่อนชาวบ้านสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนในการขายขยะด้วยตัวเอง แต่ผลจากการวิจัย ปัจจุบันพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำขยะมาบริหารจัดการผ่านตัวแทนอย่างเป็นระบบโดย นำรายได้มาประกันอุบัติเหตุของสมาชิกในชุมชน และนำเงินรายได้มาซื้อของขวัญในงานปีใหม่ สงกรานต์
3. ข้อเสนอแนะองค์ความรู้ใหม่ (body of knowledge) 1) การแบ่งโครงสร้างการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำนาจฝ่ายบริหารและอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ตามบัญญัติแห่งกฎหมาย ต้องแยกจากกันอย่างสิ้นเชิง แต่ผลวิจัยพบว่า บางพื้นที่มอบหมายให้ประธานสภาเป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งผิดหลักการการบริหารในองค์กรโดยสิ้นเชิง ในทางปฏิบัติผู้บริหารเทศบาลต้องลงพื้นที่ปฏิบัติ ไม่ใช่ประธานสภาที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ 2) วัดรับบริจาคเศษใบไม้ที่สามารถนำไปเป็นขยะอินทรีย์เพื่อทำปุ๋ยหมัก โดยชาวบ้านจะนำมาใส่ถุงเก็บไว้ที่วัด หากประชาชนต้องการปุ๋ยหมักก็สามารถนำไปใช้ได้โดยบริจาคเป็นเงินบำรุงวัด
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559 – 2564). สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561. จาก http://www.pcd.go.th/public/Publications/
print_waste.cfm?task=WasteMasterPlan.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). ประกาศหลักเกณฑ์ ชุมชนปลอดขยะ .ประกาศผลการคัดเลือกชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561. จาก https://www.deqp.go.th/media/878318/zero-com.pdf.
กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจงหวัดขอนแก่น. (2561). รายงานผลการติดตามและประเมินผล โครงการการบริหารจัดการขยะอันตรายจังหวัดขอนแก่น ประจำปี พ.ศ. 2561: จังหวัดขอนแก่น.
กิตติ มีศิริ. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน :กรณีศึกษาชุมชนเกตุไพเราะ 3,4,5 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กิ่งแก้ว ปะติตังโข และนงลักษณ์ ทองศรี. (2552). การจัดการขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(2), 60-72.
ชาญณรงค์ จันทะโชติ และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). การบริหารจัดการขยะบนเส้นทางการท่องเที่ยวหลักของจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิรน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 1-10.
ณัฐชนันท์ เชียงพฤกษ์, อดิศักดิ์ สิงห์สีโว และเพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ. (2555). สภาพการจัดการขยะมูลฝอย ชุมชนชนบทบ้านโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัย มสค. สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 11(2), 9-28.
ทิวา ประสุวรรณ, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ, ดารากร เจียมวิจักษณ์ และ ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์. (2559). รูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ตำบล บ้านแลง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ใน พระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 45-60.
ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับความเชื่อมั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
ปิติพงษ์ วิริยปิยะ. (2559). การศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 16(3), 63-76.
พีรยา วัชโรทัย. (2556). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตการจัดการสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ภวิษย์หาญ พะนุมรัมย์, ทศพร แก้วขวัญไกร และธิติพร วรฤทธิ์. (2557). รูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสม ตามขนาดการบริหารขององค์การ บริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 127-135.
สุรสิทธิ์ เพชรปิตุพงษ์ และสุวรัฐ แลสันกลาง. (2560). การประเมินโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอย บ้านวังหม้อ เทศบาลตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(3), 131-142.
เสาวลักษณ์ ปิติ. (2556). แนวทางในการหารูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย : ศึกษา กรณีการมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในการบริหารกิจการท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สัญญา เคณาภูมิ. (2559). แนวทางการสร้างกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยทางรัฐศาสตร์. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 35(2), 282-309.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). ฐานข้อมูลเพื่อการรายงาน สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2561. จาก http://www.onep.go.th/env_data/
Luther Gulick. (2555). หลักการและแนวคิดของ POSDCoRB. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561. จาก http://adisony.blogspot.com/2012/10/luther-gulick.html