การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคลโรงเรียนบ้านดอนตูมดอนโด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคล โรงเรียนบ้านดอนตูมดอนโด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ตามกรอบงาน 5 ด้าน คือ 1.การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง 2.การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง 3.การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ 4.วินัยและการรักษาวินัย และ5.การออกจากราชการ ตามขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ ( Systems Development Life Cycle : SDCL ) 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาระบบ 2)วิเคราะห์ระบบ 3)การออกแบบระบบ 4)การนำระบบไปใช้และ5)การบำรุงรักษาระบบ ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกตและ 4) การสะท้อนผล โดยดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 3 คน ประกอบด้วย 1) ผู้วิจัย 2) ครูปฏิบัติงานสารสนเทศ และ 3) ครูปฏิบัติงานการบริหารงานบุคคล 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 7 คน ประกอบด้วย 1) ครูปฏิบัติงานธุรการ 3 คน 2) ผู้ปฏิบัติงานแผนงาน 2 คน และ 3) ครูผู้ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ( Triangulation ) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นพรรณนาข้อความ ( Descriptive Analysis )
ผลการวิจัย สภาพก่อนการพัฒนาระบบสารสนเทศ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและขาดทักษะในการจัดระบบสารสนเทศ สารสนเทศงานบุคคลที่มีอยู่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน การดำเนินงานยังจัดกระทำมือมีการดำเนินการล่าช้า ไม่ทันกับความต้องการและการเรียกใช้ ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการดำเนินการ และไม่มีผู้รับผิดชอบดูแลรักษา หลังการดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคลตามขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือการประชุมปฏิบัติการและการนิเทศ มาใช้ในการบริหารงานบุคคล ทำให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้โปรแกรม มีวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการให้บริการ และมีผู้ดูแล บำรุงรักษาระบบ ทำให้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้การพัฒนาระบบสารสนเทศบรรลุเป้าหมายที่วางไว้สามารถนำผลที่ได้ไปประกอบการบริหารงาน แต่ยังมีจุดที่จะต้องพัฒนาต่อไป คือต้องมีการนิเทศ และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอให้บุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบุคลากร ตลอดจนต้องพัฒนาโปรแกรมให้ครอบคลุมทุกงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ณัฐนิช ศรีลาคำ.(2558). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี).
โรงเรียนบ้านดอนตูมดอนโด. (2560). รายงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา. เอกสารอัดสำเนา.
วรลักษณ์ ศรีอนันต์. (2548).การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริหารงานบุคลากร สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
วิสิษฎ์ ดวงหัสดี. (2547). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคลากร วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สนั่น หวานแท้. (2553) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและการสืบค้น สำหรับการบริหารงานบุคคล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสนาะ ติเยาว์. (2535). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
องอาจ ดีประดวง. (2547). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคลากร โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
Baker, Tomas Ray.(2003). The Effects of Geographic Information System (GIS) Technologies On Students' Attitude, Self efficacy and Achievement in Middle School Science
Classroom. Dissertation Abstracts International. 64(03) : 866-A ; September.
Kemmis, Stephen and Robin MC Taggart.(1988). The Action Research Planning. Australia: Deakin University.