ธุรกิจเกสท์เฮาส์อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย หลังจากการสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ธุรกิจเกสท์เฮาส์อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย หลังจากการสร้างสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของธุรกิจเกสท์เฮาส์ในเขตอำเภอเชียงของ หลังจากการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อธุรกิจที่พักประเภทเกสท์เฮ้าส์ ในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย หลังจากการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวม เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจประเภทเกสท์เฮาส์ในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และผู้ใช้บริการที่พักประเภทเกสท์เฮาส์ในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จากที่พักประเภทเกสท์เฮาส์ จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- บริบทของธุรกิจเกสท์เฮาส์ในเขตอำเภอเชียงของ หลังจากการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ประกอบด้วยการวิเคราะห์กลยุทธ์องค์กร7s ได้แก่ (1) กลยุทธ์ (2) โครงสร้างองค์กร (3) สไตล์ (4) ระบบ (5) บุคลากร (6) ทักษะ และ (7) ค่านิยม
- ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อธุรกิจที่พักประเภทเกสท์เฮ้าส์ ในอำเภอเชียงของ จังหวัดโดยรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.11) ประกอบด้วย 7 ด้าน ด้านที่ส่งผลต่อธุรกิจที่พักประเภทเกสท์เฮ้าส์ สูงสุด ได้แก่ ด้านราคา (= 4.32) รองลงมา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด (= 4.28) ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ (= 4.23) ด้านลักษณะทางกายภาพ (= 4.17) ด้านช่องทางการจำหน่าย (= 4.06) ด้านบุคลากร (= 3.90) และด้านกระบวนการ (= 3.80) ตามลำดับ
Article Details
References
กรรณเกษม วสันตวิษุวัต. (2551). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกใช้บริการโรงแรมบูติคในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. ฉบับที่ 1 กรกฎาคม– กันยายน 2558. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กัมปนาท บุญพ่อมี. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่พักประเภทรีสอร์ท กรณีศึกษา เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต).
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://www.thailandtourismcouncil.org/wp-content/uploads/2018/05/%.pdf
ธัญวลัย จารุจินดา. (2555). การเลือกใช้บริการเกสท์เฮ้าส์ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์ พริ้นท์.
นาตยา เจริญผล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปรียบเทียบกับระหว่างนักท่องเที่ยวขาวยุโรปและชาวเอเชีย . (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
ปฐมพงศ์ มโนหาญ. (2561). กระบวนการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายให้กลายเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ : มองผ่านกฎหมายและนโยบายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในมิติประวัติศาสตร์. วารสารนิติสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 11(1), 125-155.
มาริสา จันทะวาลย์ และพุฒิธร จิรายุส. (2556). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการเกสท์เฮาส์ของนักท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวเทศบาลตำบลเวียงเชียงของ. (2556). สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเชียงของ. เอกสารแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว. เชียงของ: เทศบาลตำบลเวียงเชียงของ.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธนาคารออมสิน. (2560). สถานการณ์ธุรกิจโรงแรมปี2560. สืบค้นจาก https://www.gsb.or.th/ getattachment/ dae8495d-7374-4fcc-9648-cdc9a5dde278/IN_hotel_61_detail.aspx
สวกฤต อินใจ. (2551). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการเกสต์เฮ้าส์ในอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยเชียงใหม่).
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย. (2561). ข้อมูลที่พักอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย. สืบค้นจาก https://chiangrai. mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=487
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 - 2559. สืบค้นจากhttps://www.nesdb.go.th/download/article/article _20160323112431.pdf
อัปษรศรี ม่วงคง. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าที่มาใช้บริการภัตตาคารลอยน้ำเรือริเวอร์ไซด์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).