การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้นกับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

กานต์ธนิต พรหมโชติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้นกับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2559 โดยมีทั้งหมด 531 บริษัท (รวมบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (Market Alternative Investment: Mai และกองทุนรวม)และสถิติที่ใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อบรรยายถึงลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา การวิเคราะห์วิธีเศรษฐมิติสร้างสมการถดถอย (Multiple Regression Model) และใช้เทคนิค ML – Binary Logit (Quadratic hill climbing)ในการประมาณค่าพารามิเตอร์และค่าต่างๆทางสถิติโดยโปรแกรมEviews ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์ในการอธิบายการแปรเปลี่ยนของอัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงร้อยละ39.24และมีค่าคงที่ตัดแกน Y เท่ากับ-8.289661 โดยปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ขนาดของธุรกิจ อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ สัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการบริษัทและผู้บริหาร และอัตราส่วนกำไรสะสมต่อทุนเป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจียพิงกัว. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับนโยบายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้แห่ง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2555. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562. จาก https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/cg/files/2013/CGPrinciple2012Thai-Eng.pdf.

นันทิชา ชลวณิชย์กุล. (2556). ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่อนโยบายเงินปันผลของบริษัทในประเทศไทย. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

รณชัย ชูประสูตร. (2556). ผลกระทบของผู้ถือหุ้นสถาบันต่อโครงสร้างเงินทุน นโยบายเงินปันผลจ่าย และการถือหุ้นของผู้บริหารและกรรมการบริษัท. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

รัญชิดา กุฎีศรี. (2559). ผลกระทบของบริษัทที่มีโครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัวต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรี วิจัยเพื่อแผ่นดินที่ยั่งยืนครั้งที่ 6 (หน้าที่ 1-7). สืบค้นจาก https://www.journal.pbru.ac.th.

เริงรัก จำปาเงิน. (2544). การจัดการการเงิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุคเน็ท.

วัชรพล บูระชาติ. (2553). การศึกษาอัตราผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ MAI ปี พ.ศ. 2550-2552. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สุทธิพงษ์ รินวิไลรักษ์. (2547). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายเงินปันผลและเปรียบเทียบผลประกอบการของกลุ่มบริษัทที่ดำเนินนโยบายปัญหาที่เกิดจากตัวแทนที่ต่างกัน. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

Chay, J. B., & Suh, J. (2009). Payout policy and cash-flow uncertainty. Journal of Financial Economics, 93(1), 88-107.

Jensen, M. C. (1986). Agency costs of free cash flow, corporate finance, and takeovers. American Economic Review, 76, 323-329.

Menard, S. (1995). Applied logistic regression analysis. Thousand Oaks, CA: Sage.

Ramli, N. M. (2010). Ownership structure and dividend policy: Evidence from Malaysian companies. International Review of Business Research Papers, 6(1), 170-180.

Rizqia, D. A., & Sumiati, S. A. (2013). Effect of managerial ownership, financial leverage, profitability, firm size, and investment opportunity on dividend policy and firm value. Journal of Finance and Accounting, 4(11), 120-130.

Wang, D. (1999). Founding family ownership and earnings quality. Journal of Accounting Research, 44(3), 619-656.