การออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม : เรือนอีสาน

Main Article Content

มนชญา สระบัว

บทคัดย่อ

บทบาทของการศึกษามีความสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติ รัฐบาลไทยได้ให้ความสําคัญต่อ คุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยเฉพาะคุณภาพทางการศึกษา มีการสร้างความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีการจัดหลักสูตรเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ก่อให้เกิดการไหลเวียนทางวัฒนธรรมผ่านการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และการหลอมรวมความหลากหลายบนพื้นฐานของเอกลักษณ์ ทําให้การขับเคลื่อนประเทศชาติยืนหยัดอยู่บนรากฐานของตนเองและภูมิปัญญาของชุมชนและสังคม ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกเรื่องราวและสื่อความหมายในอดีต ซึ่งสะท้อน ถึงอารยะธรรมของพื้นที่นั้นๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานนั้นเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีอารยะ ธรรมที่เก่าแก่ มีการดําเนินชีวิตในรูปแบบสายวัฒนธรรมไทย -ลาว ซึ่งเกิดจากผู้คนหลายกลุ่ม หลาย ภาษา หลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งชาวอีสานมีรูปแบบวัฒนธรรมประเพณีและวิธีการดําเนินชีวิตตามคตินิยม ภูมิปัญญา สังคม จารีต ประเพณี วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะเรือนอีสานเป็นวิวัฒนาการของที่อยู่อาศัยของชาวอีสาน ที่แสดงออกถึง ความเป็นอยู่วิถีชีวิตของชาวอีสาน การพัฒนาด้านวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนการก่อสร้างเรือน  ดังนั้นการออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาเฉพาะด้านค่อนข้างละเอียดนั้น จำเป็นจำต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบ อาศัยหลักจิตวิทยาการับรู้เพื่อการออกแบบ เพื่อให้ผู้รับสื่อเกิดความรู้และความเข้าใจอย่างแท้จริง เมื่อได้ศึกษาเนื้อหาจากสื่อเรื่องนั้นและเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมสุขภาพจิต. คู่มือส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สำหรับครู [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562 จาก : http://www.dmh.go.th/ebook/s.asp?code=41. html

สุวิทย์ จิระมณี. 2562. ประเพณี คติความเชื่อ. อีสาน-สถาปัตย์. ฉบับพิเศษ; 69-76.