การนำระบบการวางแผนความต้องการวัสดุประยุกต์ใช้ในการผลิตชาผักเชียงดา กรณีศึกษา ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ.คลองไผ่จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ศรัณย์ ขันติประเสริฐ
ปณัทพร เรืองเชิงชุม

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการผลิตสินค้าการเกษตรแบบครบวงจรทั้งแต่เพาะปลูกไปจนถึงการผลิตเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการลูกค้าอย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อให้ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ.คลองไผ่ นำระบบMRP (Material Requirements Planning) มาประยุกต์ใช้กำหนดความต้องการวัสดุในการผลิต
ชาผักเชียงดาซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากแผนกชาสมุนไพรและ ฝ่ายบริหารงานทั่วไปเพื่อทำการศึกษา จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเอกสารทุติยภูมิที่รวบรวมได้ ตั้งแต่ บันทึกคำสั่งซื้อ บันทึกการขาย รายการ
การสั่งซื้อวัสดุ บันทึกการผลิต องค์ประกอบสินค้า และจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์กลุ่มของผู้ปฏิบัติงานแผนกชาสมุนไพรและผู้เกี่ยวข้องเพื่อหากระบวนการที่เกิดขึ้นรวมถึงการวางแผนความต้องการวัสดุโดยใช้ Microsoft Excel Version 2016


                หลังจากนำระบบ MRP มาใช้ พบว่า สามารถกำหนดปริมาณวัสดุที่ต้องการในการผลิตได้จนนำไปสู่การสร้างระบบ MRP ต้นแบบในการผลิตชาผักเชียงดามีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การวางแผนการผลิตชาผักเชียงดาประกอบด้วย ปริมาณสินค้าคงคลัง ปริมาณส่วนประกอบที่อยู่ในระหว่างการสั่งซื้อ ตาราง
การผลิตหลักของชาผักเชียงดา ใบแสดงรายวัสดุของชาผักเชียงดา และการวิเคราะห์แผนความต้องการวัสดุ ส่งผลยังทำมีสินค้าชาผักเชียงดาเพียงพอต่อความต้องการลูกค้าเพียงพอในเดือนมิถุนายน2562เพิ่มขึ้น จากปี 2561 ถึงร้อยละ 36

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. (2552). สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ชุติมา สินวัฒนาเกษม และแววมยุรา คำสุข. (2556). การปรับปรุงกระบวนการบริหารสินค้าคงคลัง ประเภทวัตถุดิบอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม: กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี จำกัด. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 5(1), 117-138.

ธเนศ รัตนวิไล, กุลยุทธ บุญเซ่ง และสมชาย ชูโฉม. (2555). การลดเวลาการอบไม้ยางพารา. วารสารวิจัย มข., 17(4), 505-514.

แผนกชาสมุนไพร ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ.คลองไผ่. (2561). ข้อมูลรายงานประจำปี 2561. นครราชสีมา: ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ.คลองไผ่.

วรรณโณ ฟองสุวรรณ. (2558). โลจิสติกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และผลการดําเนินงานขององค์กรในอุตสาหกรรมยาและเภสัชภัณฑ์ไทย: การเชื่อมโยงกลยุทธ์การตลาดที่ขาดหายไป?. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(1), 263-279.

De Treville, S., Schurhoff, N., Trigeorgis, L. & Avanzi, B. (2014). Optimal sourcing and lead-time reduction under evolutionary demand risk. Production and Operations Management, 23(12), 2103-2117.

Euromonitor-International. (2019). Herbal/Traditional Products in Thailand. Retrieved March 4, 2019, from https://www.euromonitor.com/herbal-traditional-products-in-thailand/report

Megahed, A., Yin, P. & Nezhad, H.R.M. (2016). An optimization approach to services sales forecasting in a multi-staged sales pipeline. The 2016 IEEE International Conference on Services Computing (SCC). 2016, June 27 - July 2 San Francisco, CA, USA. IEEE.

Mujtaba, S., Feldt, R. & Petersen, K. (2010). Waste and lead time reduction in a software product customization process with value stream maps. The 21st Australian software engineering conference. 2010, April 6-9 New Zeeland. Auckland: IEEE.

Ptak, C.A. & Smith, C. (2011). Orlicky's Material Requirements Planning. (3rd ed). New York: McGraw Hill.

Scheer, A.W. (2012). ARIS-business process frameworks. Saarbrucken: Springer Science & Business Media.

Sisi, L. (2018). Distribution of processed fruitsthrough E-commerce. Sakon Nakhon Graduate Studies Journal, 15(71), 164-170.