การกำหนดแนวทางการตลาดเพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สรฤทธิ์ ทรัพย์สมบัติ
อารีย์ นัยพินิจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ สภาพแวดล้อมทั่วไป สภาวะการแข่งขัน และจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตจังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อกำหนดแนวทางการตลาดเพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดขอนแก่น ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน


                ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ย 15,000-30,000 บาท สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต ด้านผลิตภัณฑ์ (กรมธรรม์) คือ มีแบบการประกันชีวิตให้เลือกหลายรูปแบบ ด้าน ราคา คือ อัตราค่าเบี้ยประกันชีวิตมีหลากหลายราคาตามช่วงอายุ ด้านการจัดจำหน่าย คือ มีตัวแทนและสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ด้านบุคลากร คือ ความน่าเชื่อถือของตัวแทน ด้านลักษณะทางกายภาพ คือ ผู้บริหารเป็นที่รู้จักทางสังคม และ บริษัทประกันมีความมั่นคง ด้านกระบวนการ คือ มีระบบบริการการอนุมัติกรมธรรม์ที่รวดเร็ว และ ถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งสามารถนำผลการศึกษามาหาแนวทางการตลาดเพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดขอนแก่น ดังนี้ 1) โครงการการปรับช่องทางการขายให้ทันกับพฤติกรรมลูกค้าในยุค Digital 2) โครงการป้องกันต้นทุนบานปลายจากการคุ้มครองเกินความต้องการ 3) โครงการทำขั้นตอนการประกันชีวิตเป็นเรื่องง่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนารัตน์ เชรษฐศิริ. (2558). ปัจจัยในการเลือกซื้อประกันชีวิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ตติยา ตาแก้ว. (2556). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อกรมธรรม์ประกันชีวิตสะสมทรัพย์แกนเฟิสต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัสวี ไข่มุก และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(1), 135-147.

พิชญาภา ชินคํา และจุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ. (2561). กลยุทธ์การจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริษัทประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิตในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 11-22.

พิชา สิริโยธิน. (2560). ธุรกิจประกันชีวิตโกยเบี้ยทะลุ 5 แสนล้าน. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/25665

ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2561). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_61.pdf

สมาคมประกันชีวิตไทย. (2561). ธุรกิจประกันชีวิตรุ่ง คนกรุงวางแผนมากขึ้น. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.bltbangkok.com/News/ธุรกิจประกันชีวิตรุ่งคนกรุงวางแผนมากขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2558). ระเบียบและข้อบังคับการประกันภัย. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.tgia.org/newsandevents-detail-TH_332_1

อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล, บรรเลง ทับเที่ยง, และสวัสดิ์ นฤวรวงศ์. (2555). การประกันชีวิตในหลักการประกันภัย (พิมพ์ครั้งที่ 4).นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อิศราภรณ์ วีระคงสุวรรณ และเสาวคนธ์ สุดสวาท. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับรูปแบบการทําประกันชีวิตของ ผู้ถือกรมธรรม์บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน). วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(2), 226-238.

Sekaran, U., & Bougie, R. (2013). Research Methods for Business. (6th ed). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.