พฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของนักท่องเที่ยว ประเภทวางแผนการเดินทางเอง กรณีศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอาเซียน

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
รุ่งทิวา ชูทอง
ธีระศักดิ์ เปี่ยมสุภัคพงศ์
ภคพนธ์ ศาลาทอง
ชาญวิทย์ อิสลาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของนักท่องเที่ยวประเภทวางแผนการท่องเที่ยวเอง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวประเภทวางแผนการท่องเที่ยวเอง มีวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สัมภาษณ์กลุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่างคือท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียนจำนวน 30 คน(ผู้ให้ข้อมูล)  กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) มุ่งเน้นศึกษานักท่องเที่ยวที่เป็นชาวอาเซียนและนิยมเดินทางท่องเที่ยวแบบวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวเองหรือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) แบบสัมภาษณ์ลักษณะนี้เป็นการสัมภาษณ์โดยมีชุดคำถาม 33 คําถามศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวประเภทวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวเอง ใช้การวิเคราะห์เชิงอรรถาธิบายพรรณนาและข้อมูลจากการวิจัยภาคสนามเชิงลึก ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1.มีพฤติกรรมในการเดินทางโดยการใช้บริการรถทัวร์เนื่องจากปัจจัยทางด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยไม่มีความกังวลในปัจจัยด้านของระยะเวลาในการเดินทางท่องเที่ยวจงเลือกมองการใช้บริการขนส่ง 2. มีพฤติกรรมการเลือกรับข้อมูลข่าวสารในการท่องเที่ยวโดยการรับสารจากการพูดคุยการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชนเช่นพ่อค้าแม่ค้าและมีปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวด้วยกันเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการท่องเที่ยว มีการรับคู่มือในการเดินทางท่องเที่ยวจากที่พักโดยที่พักถือว่าเป็นแหล่งในการหาข้อมูล สําหรับการท่องเที่ยวที่ดีที่หนึ่งที่มีปฏิสัมพันธ์กับร้านอาหารร้านกาแฟในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เช่นกัน โดยจะรู้ว่ามีกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นๆผ่าน Social Media จึงทําให้เกิดความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม และ 3.มีความสนใจในการเดินทางท่องเที่ยวจากการที่ต้องการที่จะเปิดประสบการณ์ใหม่ๆในการท่องเที่ยวเนื่องจากอาจจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวที่นี่เป็นครั้งแรกที่มีความสนใจจากการรับรู้ข่าวสารการท่องเที่ยวจาก Community ใน Social Media ต่าง ๆ จึงทําให้เกิดความสนใจขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กระทรวงการท่องเที่ยว. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฐากร ปิยะพันธ์. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่และแนวโน้มในอนาคต. สืบค้นจาก http://www.Forbe sthailand.com / article_detail.php?article_id=817.

ดาณี ทรงศิริเดช และพัชนี เชยจรรยา. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบพันธมิตรกับการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. [รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารบัณฑิตศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดลฤทัย โกวรรธนกุล. (2559, 1 พฤษภาคม). [สัมภาษณ์ โดย วรัญญู ดอนเหนือ]. บริหารธุรกิจและ การบัญชี จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นจาก http://m.kku.ac.th/news/ content. php?did=N0012262&l=th

ดวงใจ ธรรมนิภานนท์. (2557). กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ความงามผ่านช่องทางการค้าแบบดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ดํารงชัย ชีวะสุขะ, สุรศักดิ์ จิรวัสตร์มงคล และติน ปรัชญพฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง. [รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ธีรพล ยั่งยืน (2562) การใช้ประโยชน์กับความพึงพอใจและพฤติกรรมผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561.

พิมพงา เพ็งนาเรนทร์(2560).แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลาง เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.

สฤษดิ์กานต์ พึ่งบำรุง (2559).แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดดิจิตอลเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักท่องเที่ยวแบบสะพายเป้ การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ (2563) ปัจจัยอิทธิพลภายนอกที่ส่งผลต่อจิตวิทยาส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวจีนรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ (กลุ่ม Second Tier และ Third Tier) ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร.

วิชสุดา ร้อยพิลา (2019).กลยุทธ์การตลาดและการบริการเพื่อภาพลักษณ์ของธุรกิจรีสอร์ท ในอําเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2019): กรกฏาคม-ธันวาคม.

Digitalmarketing. (2555 ก). 10 ข้อแตกต่างระหว่าง Classic Marketing กับ Digital Marketing. สืบค้นจาก http://www. digitalmilketing.com/ digital-marketing/classic-marketingvs-digital-marketing/.

Digitalmarketing. (2555 ข). หลักการและเหตุผล. สืบค้นจาก http://www.digitalmarketing . in.th/content/.

Digitalmarketing คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไรต่อธุรกิจ. (2556). สืบค้นจาก http://www.oknation.net/ blog/ digitalmarketing/2013/02/05/entry-1.