ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

โศศิษฐา แดงตา
ปาณิสรา คงปัญญา
อำพล ชะโยมชัย

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ (2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อแรงจูงใจของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ประชากร คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ งานวิจัยใช้ขนาดตัวอย่าง เท่ากับ 390 และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ทำงานเป็นพนักงานเอกชน และ    มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท (2) เมื่อพิจารณาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยแรงจูงใจ พบว่า  ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3) ส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจไม่ส่งต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (4) ส่วนประสมทางการตลาดทุกด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจด้านความสะอาดในการซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภค และ (5) ส่วนประสมทางการตลาดสามด้านมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจด้านความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมทางการตลาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2563). เกษตรอินทรีย์วิถีสู่สังคมเกษตรยั่งยืน : ยุทธศาสตร์พัฒนาข้าวอินทรีย์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(1), 116-130.

จิตติวัฒน์ ศรีแจ่ม สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช และ ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 14(3), 697-704.

ชัญญา ชีนิมิตร และ พัชนี เชยจรรยา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารออร์แกนิคออนไลน์ของผู้บริโภค. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า. 2(3), 1-11.

ณิชชมนันท์ ใจคำ และ ปรีดา ศรีนฤวรรณ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผักปลอดสารพิษ กรณีศึกษา ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต ในจังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55 (สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร, 202-209.

ไมตรี เสถะรักษ์. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาหารออร์แกนิค.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุ่น หนาน ซุน. (2560). การรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผักและผลไม้ออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รัฐนันท์ แย้มเกษสุคนธ์ และ วรัญญา ติโลกะวิชัย. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารออร์แกนิคในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 9(2), 218-227.

วริพัสย์ เจียมปัญญารัช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของเกษตรอินทรีย์ของไทย: บทเรียนจากเกษตรกรรายย่อย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 20, 199-215.

วารุณี จีนศร. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สยาม อรุณศรีมรกต, ชุมพร ยุวรี และสุพรรณิการ์ กิตติลิขิตศักดิ์. (2553). การศึกษาการตลาดปัญหาและอุปสรรคของการผลิตผลไม้อินทรีย์ในภาคตะวันออกประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์. 28(2), 126-144.

Basha, M. B., Mason, C., Shamsudin, M. F., Hussain, H. I., & Salem, M. A. (2015). Consumers attitude towards organic food. Procedia Economics and Finance. 31, 444-452.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Willey and Sons.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2014). Multivariate data analysis. 7th ed. US: Pearson Education.

Kumar, A.H.H., John, S.F., & Senith, S. (2014). A study on factors influencing consumer buying behavior in cosmetic products. International Journal of Scientific and Research Publications. 4(9), 1-5.

Ozguven, N. (2012). Organic foods motivations factors for consumers. Procedia – Social and Behavioral Sciences. 62, 661-665.

Salgado-Beltran, L., Espejel-Blanco, J. E., & Beltran-Morales, L. F. (2012). Marketing mix influencing organic foods purchase of Mexican consumers. Proceedings of the 13th Management International Conference, Budapest, Hungary.

Sivathanu, B. (2015). Factors affecting consumer preference towards the organic food purchases. Indian Journal of Science and Technology. 8(33), 1-6.

Turk, B. and Ercis, A. (2017). 4A marketing mix impacts on organic food purchase intention. Serbian Journal of Management. 12(2), 189-190.