แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว

Main Article Content

มณีจันทร์ ยืนคง
ศรุตยา สุขเดช

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือบุคลากร และนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น คำนวณกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ตัวอย่าง 400 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับตามแนวของ Likert Scaleและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบสเต็ปไวซ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการรับรู้และความคิดเห็นของนักศึกษาและบุคลากรเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดขอนแก่นพบว่ามี 10 ปัจจัยจากทั้งหมด 42 ปัจจัย ได้แก่ 1) ผู้บริหารระดับคณะ/สาขา/หลักสูตร 2) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์3) การรักษาความสะอาด 4) กิจกรรมการเรียนในห้องบรรยาย 5) การปรับปรุงภูมิทัศน์/ปลูกต้นไม้ในสถาบัน 6) การปิดก๊อกน้ำแทนผู้อื่น 7) เปิดน้ำทิ้งไว้ขณะล้างมือ 8) การพิมพ์รายงาน 9) การล้างมือ และ 10) มีการถ่ายสำเนาเอกสารทุกครั้งที่การเรียนการสอน โดยทั้ง 10 ปัจจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนหรือทำนายตัวแปรตามได้ร้อยละ 49.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธวัช อารีย์ราษฏร์.( 2557).มหาวิทยาลัยสีเขียว : การดำเนินงานกรีนไอที. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1(2),64-77.

ปิยะศักดิ์ ถีอาสนา และคณะ.(2558) ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

พลวัฒน์ อัฐนาค วรปภา อารีราษฎร์ และ ธวัช อารีย์ราษฏร์.( 2558). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อกรอบการพัฒนามหาวิทยาสีเขียว:กรณีศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.สืบ ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://chair.rmu.ac.th/nctim_2015/file/22-103-167-PonlawatP152-159.pdf.

ศิรินทร เลียงจินดาถาวร.(2561).องค์ประกอบเชิงยืนยันกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(1),13-29

สุรีวรรณ วัฒนธรรมและวันชัย ริจิรวนิช.(2558).แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว: การประชุมวิชาการด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2558. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562. เข้าถึงได้จาก http://www.research- stem.siam.edu/images/independent/Guidelines for_the_Green_Campus_Development/13_art.pdf

อิสรี รอดทัศนา (2558).มหาวิทยาลัยสีเขียว. วารสาร มฉก.วิชาการ. 18(36). สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562. เข้าถึงได้จาก http://journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1836.pdf.