การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และการสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปาก ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและการสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แบบสอบถามที่มีระดับความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง0.82-0.85 ในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับลูกค้าที่มาใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่พบว่าการสื่อสารการตลาดด้วยการประชาสัมพันธ์มีผลกระทบเชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อสินค้าและการสนับสนุนร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของลูกค้า โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.73 สามารถร่วมกันอธิบายการตัดสินใจซื้อสินค้าและการสนับสนุนได้ ร้อยละ 52.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น จากผลการศึกษาจึงสามารถแนะนำได้ว่า ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายในชุมชน การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหรือมูลนิธิในพื้นที่ การประชาสัมพันธ์ผ่านงานประจำปีของอำเภอหรือชุมชนใกล้เคียง และการสนับสนุนช่วยเหลือสังคม เช่น งานวัด โรงเรียน อบต. เป็นต้น อันจะส่งผลให้ดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น
Article Details
References
กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดทางเลือกเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ กรณีศึกษาศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซารัตนาธิเบศร์ และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาแจ้งวัฒนะ. สุทธิปริทัศน์, 29(90), 313-328.
จันทรรัตน์ เนาสราญ และศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2556). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (City Car) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 9(2), 117-143.
จี หยาง และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้บริโภค จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(2), 24-41.
เจน จันทรสุภาเสน, อำพล ชะโยมชัย, ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว และแก้วตา ผิวพรรณ. (2563). อิทธิพลของพฤติกรรมผู้ประกอบการ ความสามารถในการปรับตัว และความสามารถทางนวัตกรรมที่มีผลต่อผลการดำเนินงานทางธุรกิจ: ข้อมูลเชิงประจักษ์จากโครงการร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(1), 5-18.
ณฐวัฒน์คณารักสมบัติ. (2557). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อภาคธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 246-253.
ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา และธีระ เตชะมณีสถิตย์. (2557). รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าระหว่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตราสินค้าไทยกับตราสินค้าต่างประเทศในระบบขายตรง. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 8(2), 41-59.
นิตนา ฐานิตธนกร. (2555). อิทธิพลของการบอกต่อบนโลกอินเทอร์เน็ต. วารสารนักบริหาร, 32(1), 17-22.
พิมพ์ธัญญา ฆ้องเสนาะ. (2560). Omni-Channel (ออมนิ-ชาแนล) การตลาดยุคใหม่: ทางรอดธุรกิจค้าปลีกไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ , จาก http://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer/viewer.php
ศิริลักษณ์ ชูจิตร. (2559). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท คาร์มาร์ท จำกัด (มหาชน) ในร้านบิวเทรี่ยม สาขาสยามสแควร์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2555). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ท้อป.
สมพร เกตุอรุณรัตน์, กันยาวีร์ เมฆีวราพันธุ์ และจิรพล จิยะจันทน์. (2560). รูปแบบการตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 237-249.
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย. (2562). บทวิเคราะห์สถานการณ์ “ค้าปลีกไทย” ปี 2019 “ซึม-ทรง-เสี่ยง” พร้อม 8 มาตรการเพิ่มโอกาสเติบโต. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2019/02/thai-retailers-association-outlook-for-retail-in-2019/
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2562). ทำความเข้าใจการตลาดยุค 4.0 รู้ก่อน รวยก่อน. สืบค้นเมื่อวันที่, จาก https://www.smego.rmutt.ac.th/2017/11/10/ทำความเข้าใจการตลาดยุค-4/
เหมือนจิต จิตสุนทรไชยกุล. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคกับธุรกิจค้าปลีก. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques(3rd ed). New York: John Wiley & Sons.
Goworek, H. & McGoldrick, P. (2015). Retail Marketing Management: Principles and Practice. London: Pearson Education.
Hair, J.F., Jr., Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. (2010). Multivariate Data Analysis (8th ed). London: Cengage Learning.
Ismagilova, E., Slade, E.L., Rana, N.P., & Dwivedi, Y.K. (2019). The Effect of Electronic Word of Mouth Communications on Intention to Buy: A Meta-Analysis. Information Systems Frontiers. Retrieved form https://doi.org/10.1007/s10796-019-09924-y
Kotler, P. & Keller, K.L. (2016). Marketing Management (15th ed). Edinburgh: Pearson Education.
Poturak, M. &Turkyilmaz, M. (2018). The Impact of eWOM in Social Media on Consumer Purchase Decisions: A Comparative Study between Romanian and Bosnian Consumers. Management and Economics Review, 3(2), 138-160.
Sekaran, U. & Bougie, R. (2010). Research Methods for Business (6th ed). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.