หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อภิชิต ดวงธิสาร
ไพรัช บุญประกอบวงศ์
สิทธิเดช วงศ์ปรัชญา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ เพื่อ 1) ศึกษาบริบทขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแท่น  อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ต่อเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมหรือส่งผล 3) ศึกษาแนวทางการจัดการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประธานหรือผู้ก่อตั้งกลุ่มในชุมชนพื้นที่ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวนทั้งสิ้น 20 คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) ในส่วนบริบทขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ต่อเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เกิดจาก การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกมิติ การเพิ่มศักยภาพขององค์กรชุมชนท้องถิ่น การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน และการจัดการเครือข่ายความรู้และการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่น 2) ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน คือ ขาดการสนับสนุนในด้านระบบความสัมพันธ์และความเอื้ออาทร ขาดการสนับสนุนในด้านระบบฐานข้อมูลข่าวสาร ขาดการสนับสนุนในด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดการความรู้ และขาดจิตสำนึกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จิตสาธารณะ 3) ส่วนแนวทางการจัดการเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน  คือ แนวทางด้านความอดทน ความเพียร ความกล้าหาญและการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน แนวทางด้านการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง แนวทางด้านการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ กิ่งก้ำ. (2555). ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของชุมชนบ้านม่องหินแก้ว ตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์รัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

เกศสุดา โภคานิตย์. (2562). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการวิสาหกิจชุมชนเกษตร อินทรีย์ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(1),50-56.

ขวัญกมล ดอนขวา. (2556). การจัดการธุรกิจชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. นครราชสีมา: สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2557). หลักการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงเยาว์ อุทุมพร. (2558). การพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียงในชุมชนเขตชลบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม. 1(1),42.

บรรเลง อินทร์จันทร์ และคณะ. (2561). วิถีชิวิตชุมชน : กรณีศึกษานิคมสร้างตนเองพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ ธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 4 (1), 1-2.

ประเวศ วะสี. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.

วิไลวัจน์ กฤษณะภูติ. (2561). ศาสตร์พระราชา พัฒนาสังคมไทยสู่สังคมโลก. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8 (2), 1-9.

สาวิณี รอดสิน. (2554). ชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาบ้านปางจำปี ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ฮอด จังหวัด เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560ก). ร่างยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี. สืบค้น เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2562 จาก: www.nesdb.go.th

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน: กระบวนทัศน์ การพัฒนาสู่ ประเทศไทย 4.0. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ เรื่อง องค์กรต้นแบบด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 ผ่านวีดีทัศน์ ณ สถาบันบัณฑิตพัฒ นบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เสรี พงศ์พิศ. (2554). เศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้ถ้าใจปรารถนา. กรุงเทพมหานคร : เทียนวรรณ.