แนวทาง แนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พรรณกร ไชยศรี
นิยดา เปี่ยมพืชนะ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นและประเมินแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ผู้อำนวยการและหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแล และคณะกรรมการบริหารศูนย์ รวมทั้งสิ้น 111 คน โดยใช้วิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตร Taro Yamane (1973) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.67 – 1.00 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง   


           ผลการวิจัย  


  1. สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านที่มีความสำคัญมากที่สุด ด้านการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย รองลงมาด้านการบริหารจัดการ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านบุคลากร ด้านการมีส่วนร่วมและส่งเสริมสนับสนุน ด้านที่มีความสำคัญน้อยที่สุด ด้านอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

        2. แนวทางการดำเนินงานควรดำเนินการดังนี้(1) ด้านส่งเสริมเครือข่ายพัฒนาเด็กปฐมวัยควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน(2) ด้านการบริหารจัดการควรมีการจัดเวทีประชาคม (3) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรควรดำเนินการจัดทำหลักสูตร (4) ด้านบุคลากรควรมีการคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม (5) ด้านการมีส่วนร่วมและส่งเสริมสนับสนุนควรมีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน(6) ด้านอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยควรมีการจัดให้มีบริเวณพื้นสนามหญ้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). อนาคตใหม่ของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0.สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/thailand4.pdf.

จันทรา ยิ้มเข็ม. (2557). แนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม).

ทะนงศักดิ์ ปักโคทานัง. (2557). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะคณะวิทยาลัยการเมืองการปกครอง,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ปรมินทร์ ใจห้าว. (2560). แนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

เทศบาลนครขอนแก่น.แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2565).ขอนแก่น: เทศบาลนครขอนแก่น.

พินิจ มีทองคำ, โกวิท แสนพงษ์. (2019). เทคนิคการวิเคราะห์สภาพการพัฒนาเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 111-120.

ภพกฤต สุทธิบากสกุล. (2560). การพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม).

มลิวรรณ์ภิรมย์รักษ์. (2561). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

รัตติยา ชาติประสพ. (2560). สภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์).

วิภาพร ศรีพงษ์ยิ่ง. (2561). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารจัดการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม).

อัญชลี หลักชัย. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การ บริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

อำพร พันธ์งาม. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

Taro Yamane. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rdEd). New York: Harper and Row Publications.